ผลการพยาบาลอย่างมีแบบแผนเรื่องเทคนิคกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อปริมาณน้ำนม และความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดที่ทารกแรกเกิดพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยเด็กอ่อน

ผู้แต่ง

  • ศิริไท พฤกษะศรี
  • สมทรง ศงสภาต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) วัดปริมาณน้ำนมของมารดาหลังคลอด หลังให้การพยาบาลอย่างมีแบบแผน และเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำนมในแต่ละวัน จำนวน 3 วัน 
ติดต่อกัน และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อเทคนิคการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมมารดาหลังคลอด ที่มีทารกแรกคลอดป่วยพักรักษาในหอผู้ป่วยเด็กอ่อน กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดที่ได้รับผลการพยาบาลอย่างมีแบบแผนเรื่องเทคนิคกระตุ้นการหลั่งน้ำนม มาคลอดและพักฟื้น ณ หอผู้ป่วยสูติกรรม 2 โรงพยาบาลสงขลา ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 ราย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) คู่มือพยาบาลเรื่องบันได 10 ขั้น สำหรับทารก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 
1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกการป้ายน้ำนม และการนับน้ำนมของมารดาหลังคลอด 
3) แบบประเมินความพึงพอใจ นำเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ KR20 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ได้แก่ 
Wilcoxon Signed Ranks Test และ Anova ผลการวิจัย พบว่า

1.   ผลการพยาบาลอย่างมีแบบแผนเรื่องเทคนิคกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อปริมาณน้ำนม 
ในวันที่ 1 ถึงวันที่ 3 พบว่าปริมาณน้ำนม วันที่ 3 (M=110.43, SD=84.61) มากกว่าวันที่ 2 (M=33.33, SD=23.75) และวันที่ 1 (M=6.70, SD=10.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F2,87 = 34.86, P< 0.000)

2.   ผลความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดที่มีทารกแรกเกิดป่วย พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยเด็กอ่อนต่อเทคนิคกระตุ้นการหลั่งน้ำนม มีความพึงพอใจ ระดับมาก ร้อยละ 85 และระดับปานกลาง ร้อยละ 15

ดังนั้น หอผู้ป่วยหลังคลอดต้องเพิ่มพูนความรู้ และฝึกทักษะพยาบาลให้มีการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมแก่มารดาหลังคลอด มีการติดตามให้มารดาหลังคลอดปฏิบัติได้อย่างถูกต้องก่อนจำหน่ายออกจาก
โรงพยาบาล

คำสำคัญ: การพยาบาลอย่างมีแบบแผน, เทคนิคการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม, ปริมาณน้ำนม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-03