ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองต่อ ความสามารถในการคัดกรอง การส่งต่อ และความพึงพอใจของพยาบาล หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเมืองสงขลา

ผู้แต่ง

  • ทิพรัตน์ วงศิลารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม (Pre test ñ Post test Design) มีวัตถุประสงค์ 
1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคัดกรองและการส่งต่อผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการจัดการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองของพยาบาล 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาล 
หลังการใช้โปรแกรมการจัดการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือ พยาบาลวิชาชีพทุกคน ในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน จำนวนทั้งหมด 13 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางของโปรแกรมการจัดการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย 1) การคัดกรองและประเมินความรุนแรงของผู้ป่วย 2) การให้การพยาบาลเฉพาะโรค 3) การรายงานแพทย์ 4) การตระหนักและจัดการเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน 5) การติดตามประเมินผล 6) การส่งต่อแบบวัดความสามารถในการคัดกรอง และการส่งต่อผู้ป่วย และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้โปรแกรม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ .86 และได้หาความเที่ยงด้วยวิธีครอนบาคแอลฟา ได้ค่าความเชื่อมั่น ด้านความสามารถในการคัดกรองและส่งต่อเท่ากับ .91 และ ด้านความพึงพอใจ ต่อการใช้โปรแกรม เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired tñtest

ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนความสามารถในการคัดกรอง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังการใช้โปรแกรม (M=2.90, SD=0.17) มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรม (M=2.29, SD=0.25) อย่างมีนัยสำคัญ p < .001  2) คะแนนความพึงพอใจของพยาบาล หลังการใช้โปรแกรม (M=3.32, SD=0.52) มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรม (M=1.96, SD=0.31) ดังนั้น ควรสนับสนุนให้หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน นำโปรแกรมการจัดการทางด่วนโรคหลอดเลือดสมองไปใช้ เพื่อเป็นแนวทางและพัฒนาความสามารถของพยาบาล ในการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไปยังหน่วยงานที่มีศักยภาพที่สูงกว่า

คำสำคัญ: โปรแกรม, การจัดการทางด่วน,โรคหลอดเลือดสมอง, ความสามารถ, อุบัติเหตุฉุกเฉิน, 
ความพึงพอใจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-03