การเรียนรู้เชิงบูรณาการระบบสุขภาพระดับอำเภอ และทีมหมอครอบครัว ในการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ ด้วยกิจกรรมการเยี่ยมบ้านคุณภาพ: สุขสำราญ ห่วงใยกัน ด้วยทีมหมอครอบครัว

ผู้แต่ง

  • เนาวรัตน์ เจียรวิวัฒนวงศ์
  • ดาราวรรณ รองเมือง
  • นัสรียา สือมะ
  • แววตา ขอจ่วนเตี๋ย
  • โกมาซุม ภูผา
  • นิศารัตน์ สวนสัน
  • สุภา ริเหร่า
  • สินีนาฏ ใบสนิ

บทคัดย่อ

ระบบสุขภาพระดับอำเภอ เป็นการทำงานด้านสุขภาพในรูปของเครือข่าย โดยให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น การเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอได้ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบในการดูแลสุขภาพ ด้วยการบูรณาการระบบสุขภาพระดับอำเภอ และการเยี่ยมบ้านด้วยทีมหมอครอบครัว และศึกษารูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน ผ่านกิจกรรมการเยี่ยมบ้านที่สอดคล้องตามสภาพสังคม และวัฒนธรรมของอำเภอสุขสำราญจังหวัดระนอง รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

กระบวนการพัฒนาระบบในการดูแลสุขภาพ ในระยะแรกมุ่งเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรต่อมาส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนตามบริบท และวิถีชีวิตของชุมชน รวมทั้งรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการจัดบริการสุขภาพเชิงรุกโดยใช้บริบทเป็นฐานในรูปแบบSUKSUMRAN ประกอบด้วย จิตบริการ (Service Mind) ให้บริการดุจญาติมิตร (Relationship) เป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity) ให้บริการด้วยความรู้ และความชำนาญ (Knowledgeable) ที่มีมาตรฐานเดียวกัน(Non-Double Standard) บนพื้นฐานของเครือข่ายสังคมคุณภาพ (Social Network) ตลอด 24 ชม.(Unconditional Care) โดยใช้ทรัพยากรตามบริบทในพื้นที่ (Man Money Material - Resources) และเห็นคุณค่าทั้งผู้ให้ และผู้รับ (Appreciate)คำสำคัญ: การเรียนรู้เชิงบูรณาการ, การเยี่ยมบ้าน, ระบบสุขภาพอำเภอ, ทีมหมอครอบครัว

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-03