มโนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • อมาวสี อัมพันศิริรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสืบค้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายความหมายที่มีอยู่ในกลุ่มที่ศึกษา ให้ความสำคัญยิ่งกับบริบททั้งด้านสังคม กายภาพ และจิตใจ และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการนำมาออกแบบการวิจัยเนื่องจากสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลสำคัญต่อมุมมอง ประสบการณ์และการกระทำของกลุ่มคนที่ต้องการศึกษา กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ บางครั้งผุดขึ้นมาเองในสนามการวิจัย อาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้แตกต่างไปจากการออกแบบครั้งแรก สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลจะเริ่มทำซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล นอกจากนี้นักวิจัยเชิงคุณภาพต้องมีความสามารถสะท้อนตัวเอง (Reflexivity) เพื่อให้เกิดสติ เข้าใจสภาวะความรู้สึกของตน มีการตั้งคำถามกับตนเองและสังเกตความรู้สึกของตนเองไปด้วยในขณะทำการฟัง หรือสังเกตผู้คนเหล่านั้น รวมทั้งระหว่างการเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยจำเป็นต้องมีสติขณะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนเหล่านั้นในระหว่างการเก็บข้อมูล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-04