การฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ และระดับความเครียดของนักศึกษาพยาบาลที่ฝึกปฏิบัติงานในห้องคลอด

ผู้แต่ง

  • ปฐมพร โพธิ์ถาวร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • อำไพอร เพ็ญสุวรรณ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • สาวิตรี วงค์ประดิษฐ์ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

การปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ, การฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด, นักศึกษาพยาบาล, Breathing Meditation Program, Labor Room Practicum, Nursing Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย (Qualitative Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดที่ผ่านการฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 45 ประจำปีการศึกษา 2556 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา จำนวน 37 คน ที่ฝึกปฏิบัติงานวิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 2 งานห้องคลอด โรงพยาบาลสงขลา เครื่องมือที่ใช้มี 4 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความเครียดด้วยตนเองของนักศึกษาระหว่างฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด 3) แบบฝึกสมาธิด้วยการหายใจ 4) คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดที่ผ่านการฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจ หาค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s  Alpha) ของเครื่องมือส่วนที่ 2 ได้เท่ากับ .91 เครื่องมือส่วนที่ 3 และ 4 ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน นำมาทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาล จำนวน 3 คน แล้วปรับปรุงอีกครั้งก่อนใช้จริง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป และระดับคะแนนความเครียดด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลการสะท้อนผลการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดของนักศึกษาที ่ผ่านการฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาล ร้อยละ 100 มีสติในการปฏิบัติงาน มีระดับความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอดลดลง สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่พึงพอใจของตัวเองและพยาบาลที่ห้องคลอด และมีความรู้สึกทางบวกต่อรายวิชาและต่อการฝึกปฏิบัติงาน จึงควรส่งเสริมให้นักศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลมีการฝึกปฏิบัติสมาธิด้วยการหายใจอย่างต่อเนื่องก่อนฝึกปฏิบัติงานทุกรายวิชา

 

Breathing Meditation Program and Stress Level of Nursing Students in Labor Room Practicum

This descriptive research aimed to study the practice with breathing meditation program of nursing students to improve mindfulness and reduce stress level in labor room practicum. Sample was 37 nursing students in the fourth year, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla who took the maternal, child, and midwifery practicum 2, academic year 2013. Research instrument was divided into four parts: 1) a general data form, 2) self-reported regarding stress level score during practicing in labor room, 3) a breathing meditation practice program, and 4) an open-ended questionnaire regarding a reflection on labor room practicum and breathing meditation. The content validity had been confirmed by three 3 experts prior being applied to 3 nurse students (adjusted before the second use). The reliability of the second part of the instrument had been tested with Cronbach’s alpha coefficient that equal to 0.91. Demographic data and stress level were analyzed using percentage and mean. The qualitative data was analyzed using content analysis.

The results showed that the practicing of breathing meditation helped all samples (100%) to be more and more conscious. The stress score of the nursing students during the labor room practicum was decreasing. Nursing students perceived that they were be able to control themself, increase their performance in pructicum, and increase attitude toward practicing in the maternal, child, and midwifery practicum. Therefore, nursing institutes should implement the breathing meditation program for nursing students in all nursing practicum subjects.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-08