ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สุวรีย์ เศรษฐวัฒน์บำรุง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเผชิญความเครียด, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยวิกฤติทางด้านศัลยกรรม, Stress, Coping, Caregivers, Critically Ill Surgical Patients

บทคัดย่อ

ความเครียดเป็นกระบวนการในการปรับตัวสู่สภาวะสมดุลเมื่อสภาพแวดล้อมรอบตัวถูกรบกวน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารักษาในหอผู้ ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลากลุ่มตัวอย่างได้ แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติที่เข้ารักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่จังหวัดสงขลาจำนวน 190 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามความเครียดและการเผชิญความเครียด ผ่านการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .81 และ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่าความเครียดด้านอันตรายเกิดจากการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางในการรักษาผู้ป่วย ร้อยละ 62.60 ดา้นคุกคาม เกิดจากการที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแต่เพียงลำพัง ร้อยละ 48.90 ด้านท้าทาย เกิดจากการไม่ได้รับความช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลจากญาติพี่น้อง ร้อยละ 20.00 ด้านการเผชิญความเครียดที่ปฏิบัติบ่อยครั้ง ได้แก่ เมื่อหงุดหงิดจาการดูแลผู้ป่วยวิกฤติจะแสดงอาการฉุนเฉียวออกมา และแนวทางที่นำมาปฏิบัติทุกครั้งได้แก่ การพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นบทเรียนร้อยละ 23.20

 

Stress and Coping of Caregivers of Critically Ill Surgical Patients in Hat Yai Hospital, Songkhla Province

Stress is the adaptation process to the balance state when one’s circumstance is interfered. This research aimed to study the level of stress and coping of caregivers of critically Ill surgical patients. Sample was 190 caregivers of critically Ill surgical patients who admitted in Hat Yai hospital, Songkhla Province. The purposive sampling was used. The research instrument was questionnaire regarding stress and coping. Reliability of the instruments examined using Cronbach’s Alpha Coefficient was equal to 0.81 and 0.85, respectively. Data were analyzed by using frequency, and percentage

The results showed that the stress in relation to danger was caused by the making decisions about how to treat patients (62.60%). The stress in relation to threat was caused the burden in medical costs (48.90%). And the stress in relation to challenge was caused by lack of social support of medical fee from relatives (20%). In term of stress coping, the most frequent practice (23.20%) was considering an event that happened when feeling irritated or angry the patients.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-04