ความพึงพอใจของบุคลากรต่องานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจต่อการให้บริการ, งานพัสดุ, Service Satisfaction, Supplies Sectionบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรต่องานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง และศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการของงานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของโรงพยาบาลพัทลุง จำนวน 128 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ผ่านการหาความตรงด้านเนื้อหาของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุการทำงาน 16 ปีขึ้นไป ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาล/นักวิชาการ/นักวิทยาศาสตร์การแพทย์/ นักรังสีการแพทย์/นักกายภาพบำบัด/นักจิตวิทยา และตำแหน่งงานปัจจุบันเป็นผู้ปฏิบัติ
2. ความพึงพอใจของบุคลากรต่องานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง ภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M = 2.46, SD = 0.51) จำแนกเป็นด้านบริหารงานพัสดุ อยู่ในระดับตำ (M = 2.38, SD = 0.51) และ ด้านการบริหารคลังพัสดุ อยู่ในระดับสูง (M = 2.54, SD = 0.58)
3. แนวทางการพัฒนาการบริการงานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง พบว่า ควรเสนอรายละเอียดของ พัสดุ ครุภัณฑ์ ให้ผู้รับบริการทราบอย่างชัดเจน ระบบการจัดซื้อจัดจ้างไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอน และใช้ วิธีการออนไลน์แทนระบบเดิม ตลอดจนเพิ่มความรวดเร็วในการสั่งซื้อ/จ้าง และการส่งมอบ ดังนั้นงานพัสดุ โรงพยาบาลพัทลุง จึงควรจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Flow Chart) ให้ครอบคลุม ทุกระบบ มีวิธีการสื่อสารทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยต่าง ๆ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเบิกจ่ายพัสดุ ตลอดจนจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของงานพัสดุภายใต้การมีส่วนร่วมของบุคลากร
The Satisfaction of Personnel to the Supplies Unit in Phatthalung Hospital
This descriptive research aimed to study the level of satisfaction of personnel to the Supplies unit, Phatthalung Hospital and explore the means to improve the services of the Supplies section. Sample was 128 personnel of Phatthalung Hospital. And a convenient sampling was used. The research instrument used in this study was a questionnaire. The content validity was confirmed by experts. The Cronbach alpha’s coefficient was .74. Data were analyzed using percentage, mean and standard deviation. The results showed that;
1. The sample was nurses, academic officers, medical scientists, radiological technologists, physical therapist, and psychologist. The majority of them was female, graduated in Bachelor’s degree, 16 years or above of working experience.
2. The overall satisfaction of the personnel to the Supplies unit in Phatthalung Hospital was at a high level (M= 2.46, SD = 0.51). The supplies and warehouse were at a low level and high level (M= 2.38, SD = 0.51, and M= 2.54, SD = 0.58, respectively).
3. Means to improve services of supplies unit in Phatthalung Hospital were; 1) giving clear information of supplies and equipment to clients, 2) reducing steps of procurement systems, 3) using the online system to increase a rapid in purchase / hiring and transfer of job.
In conclusion, supplies unit in Phatthalung Hospital should create an operational procedure (Flow Chart) of all systems, use information technology to communicate and share information among the personnel in various units to understanding the system in disbursement of supplies, and create a working manual with participation of staff in the hospital.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้