ความสมเหตุสมผลในการสั่งยา

ผู้แต่ง

  • นุชรินทร์ คงสิน เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
  • กนกพร สรรพวิทยกุล อายุรแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวีจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ความสมเหตุสมผลในการสั่งใช้ยา, Clopidogrel, Rational Drug Use

บทคัดย่อ

ยา Clopidogrel เป็นยาบัญชี ง ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2556 คือ รายการยาที่มีหลายข้อบ่งใช้ แต่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพียงบางข้อบ่งใช้ หรือมีแนวโน้มจะมีการสั่งใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงเป็นกลุ่มยาที่มีความจำเป็นต้องประเมินความสมเหตุสมผลในการสั่งใช้ยา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสมเหตุสมผลในการสั่งใช้ยา Clopidogrel ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยย้อนหลัง โดยศึกษาการสั่งใช้ยา Clopidogrel จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกทุกรายจำนวน 106 คน ที่ได้รับยาในช่วงเวลาตั้งแต่1 กรกฎาคม 2556 ถึง 31 มีนาคม 2557

ผลการศึกษา ในกลุ่มประชากร 106 คน พบการสั่งใช้ยาเป็นสองกลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ใช้ยาเพียง 1 ครั้ง ในภาวะฉุกเฉินตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาล ระดับตติยภูมิจำนวน 32 คน 2) กลุ่มที่มีการสั่งใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามข้อบ่งใช้ จำนวน 74 คน ผู้ป่วยได้รับยาอย่างสมเหตุสมผลตามข้อบ่งใช้ จำนวน 61 คน (ร้อยละ 82.43) ได้รับยาอย่างไม่สมเหตุสมผลตามข้อบ่งใช้จำนวน 13 คน (ร้อยละ 17.57)

สรุปผล มีการสั่งใช้ยา Clopidogrel อย่างสมเหตุสมผลตามข้อบ่งใช้ ร้อยละ 82.43 ไม่สมเหตุสมผลตามข้อบ่งใช้ ร้อยละ 17.57 และยังไม่สามารถประเมินความสมเหตุสมผลตามข้อบ่งใช้ในกลุ่มที่ใช้ยาเพียง 1 ครั้ง ในภาวะฉุกเฉินตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจำานวน 32 คน


Rational Drug Use of Clopidogrel

Clopidogrel, the common antiplatelet agent, is an Essential Drug (ED) based on the Thai National list of essential medicines (2013). The drug can be used in multiple indications. However, only some indications are appropriate. Clopidogrel is needed to evaluation the appropriateness of prescription. This study aimed to assess the rational use of Clopidogrel.

A retrospective study of 106 patients with Clopidogrel prescribed from medical record during the period between July 1, 2013 to March 31, 2014. The results showed that the population of this study was divided in two parts:

1) There were 32 patients who were using single loading dose of Clopidogrel for acute coronary syndrome before referring to the tertiary care hospital, and

2) There were 74 patients who continuously using Clopidogrel therapy, with repartition as follows: 61 patients (82.43%) were treated with appropriate indication, and 13 patients (17.57%) were receiving Clopidogrel with no indication.

In conclusion, there were 82.43% of patients who had rational use of Clopidogrel and 17.57 % who were treated with inappropriate indication. Furthermore, the patients who were using single loading dose of Clopidogrel for acute coronary syndrome, were not been assessed appropriately as suggested by the clinical guideline for acute myocardial infarction.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-04