กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาตลาดสดตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ: กรณีศึกษาตลาดสดกอบกาญจน์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • อรวรรณ สัมภวมานะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • นงเยาว์ ์ ชัยทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ชุลีพร เอกรัตน พยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • นรารัตน์ ชูมี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ศูนย์สุขภาพชุมชนตาปี โรงพยาบาลสุราษฎร์ธาน

คำสำคัญ:

ตลาดสดน่าซื้อ, กระบวนการมีส่วนร่วม, การพัฒนา, Fresh Market, Community Participation, Developing

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม ประเมินผลและสรุปบทเรียนของกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ เพื่อพัฒนาตลาดสดกอบกาญจน์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี ตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อโดยมีกลุ่มผู้นำและคณะกรรมการตลาด อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่เทศบาลนครสุราษฏร์ธานี และผู้วิจัยร่วมทุกขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ การวางแผน การดำเนินการ และการสรุปบทเรียน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต และบันทึกการดำเนินงานของตลาดสด ใช้เวลา 1 ปี

สรุปได้ว่า กระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดกระบวนการคิด การทำงานอย่างมีระบบ และเกิดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ผลจากการทำงานร่วมกันส่งผลให้ตลาดมีการพัฒนามากขึ้น แต่ก็ยังไม่ครบถ้วนตามาตรฐาน จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาต่อไป

ดังนั้นควรสร้างความตระหนักแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เข้ามาสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและสร้างความตระหนักของภาคประชาชนเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย

 

Community Participation for Developing a Standard Fresh Market : A Case Study of Kobkhan Fresh Market, Thumbon Thalad, Ampher Muang, Suratthani Province

The purpose of this participatory action research was to study, analyze, develop a participation process, evaluate, and summarize lessons from community participation including barriers of developing Kobkhan Fresh Market, Tumbol Talad Ampher Muang, Suratthani that is based on a fresh market’ s standard. The participants included leaders, a market committee, health volunteers, health personnel, officers from Suratthani Municipality, and the researcher team. This participatory research was composed of some important steps: problem analysis and needs assessment, planning, implementation, and summarizing the lesson. The research process took one year. Data was collected by using a questionnaire, in-depth interviews, observations, and tape-recording, and note-taking. The data were examined for completeness and analysis for descriptive presentation.

The evaluation showed that the participation of every involving party could solve many problems of the fresh market. Through thinking process, working system, and learning from the participation, the standard of fresh market was developed. In the standard development, each party had different roles.

So that, building awareness among stakeholder is order to develop or share vision is important. Participation improvement and building awareness about food safety.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-11-03