การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น

ผู้แต่ง

  • หร่อกีบ๊ะ บุญโส๊ะ APN สาขาการพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
  • สุมาลี ฉันทวิลาส พยาบาลวิสัญญี งานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
  • มาริสา สุวรรณราช อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การจัดการความปวดหลังผ่าตัด, ห้องพักฟื้น, Clinical Nursing Practice Guideline, Postoperative Pain Management, Recovery Room

บทคัดย่อ

บุคลากรทางสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปวดมากขึ้น แต่ผู้ป่วยยังได้รับการระงับปวดหลังผ่าตัดไม่เพียงพอและยังพบผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรง จากการจัดการความปวดที่ไม่ประสบผลสำเร็จ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติ โดยอิงกรอบแนวคิดสภาวิจัยด้านการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติออสเตรเลีย 2) ประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้จากพยาบาลวิสัญญี 5 ราย และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วย 163 ราย เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป การวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงบรรยาย

ผลการวิจัย จากการสังเคราะห์งานวิจัยและทบทวนวรรณกรรม จำนวน 25 เรื่อง ระดับความน่าเชื่อถือและคุณภาพของหลักฐานในระดับ 1-4 พัฒนาเป็นแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย คือ 1) วิธีการประเมินความปวด แบ่งหลักๆ เป็น วิธีประเมินสำหรับผู้ป่วยสื่อสารได้ดีและผู้ป่วยสื่อสารได้จำกัด และนำหลักการใช้ทฤษฎีสี มาปรับใช้ในการจัดกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์สีจราจร 2) การดูแลจัดการความปวด ใช้แบบผสมผสาน มีรูปแบบการจัดการความปวดแบ่งหลักๆ เป็น การจัดการความปวดด้วยยา และการจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยา 3) การติดตามผลการบรรเทาความปวดหลังได้รับการรักษา และ 4) การประเมินระดับความปวดซ้ำและการบันทึก ส่วนการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ พบ แนวปฏิบัติมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ โดยรวมในระดับสูง ความพึงพอใจของผู้ใช้แนวปฏิบัติอยู่ระดับมากที่สุด ส่วนผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่าได้รับการจัดการความปวดตามแนวปฏิบัติ และมีการประเมินความปวดซ้ำก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย/กลับบ้านทุกราย

สรุปแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดได้ ดังนั้นควรศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัตินี้ในห้องพักฟื้นในโรงพยาบาลอื่น ๆ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติต่อไป

 

Development and Feasibility Evaluation of Clinical Nursing Practice Guidelines of Postoperative Pain Management in Recovery Room

Although health personnel have a better understanding of pain, patients are still receiving inadequate pain management after surgery. Evidences found that postoperative patients with moderate to severe pain received ineffective pain. This study aimed to: 1) develop Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG) of postoperative pain management in recovery room based on the conceptual framework of the National Health and Medical Research Council of Australia, 2) evaluate feasibility of the CNPG implemented by 5 anesthetist nurses, and 3) evaluate clinical outcomes of 163 patients. Research instruments included: a) the CNPG feasibility evaluation form, b) satisfaction toward using CNPG form, and c) demographic data form. Data was analyzed using descriptive statistics.

The results showed that there were 25 research articles with the credibility and quality of evidence level 1-4 were included to developing the CNPG

The contents of the CNPG consisted of: 1) pain assessment methods to be used for patients with good or limited communication. The principles of the color theory were applied to identify the level of pain, 2) the postoperative pain managements that were using and without using medication, 3) monitoring after pain management, and 4) pain reassessment and documentation. The feasibility of implementing CNPG on postoperative pain management in recovery room was at a high level. The satisfaction toward using CNPG among anesthetist nurses was at a high level. The clinical outcomes of the patients in terms of pain management and pain reassessment were implemented in all patients before referring them from recovery room to inpatient wards and discharge them from hospital.

The results show that the developed CNPG can be used to manage postoperative pain. Therefore the CNPG should be implemented in the recovery room of other hospitals to further improvements of the CNPG.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-11-03