ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน

ผู้แต่ง

  • อุดมพร รักเถาว์ ทันตาภิบาลชำนาญงาน โรงพยาบาลคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี
  • จารุวรรณ วงษ์เวช พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติและพฤติกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปาก, เด็กก่อนวัยเรียน, Knowledge Attitude and Practice, Oral Health Care, Pre-school Children

บทคัดย่อ

ปัญหาการดูแลสุขภาพในช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เป็นปัญหาสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง และเพื่อค้นหาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงเด็ก จำนวน 65 คน ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 การคืนข้อมูลแก่ผู้ปกครองและครูเด็กเล็ก ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแผนการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 จัดเวทีคืนข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.3 ด้านทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 64.6 และด้านการปฏิบัติตนเกี่ยวกับทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 93.2 2) ปัญหาในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก ได้แก่ ปัญหาการปฏิบัติตนไม่ถูกต้องของผู้เลี้ยงดู ปัญหาการรับประทานขนมหวาน และปัญหาการเลี้ยงดูด้วยขวดนม 3) แนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพในช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน ในระดับครอบครัวเน้นการเสริมแรงจูงใจ การใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก สำหรับในระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครูและผู้ปกครอง การจัดทำสื่อการสอน ประชุมเครือข่ายผู้ปกครองและการประกาศนโยบายศูนย์ปลอดขวดนม

 

Knowledge, Attitude and Practice of Parents/Guardians Regarding Oral Health Care of Pre-school Children

Oral health problem in child care development center is an important issue that should be resolved urgently. This action research aimed to 1) study knowledge, attitude and practice of parents/guardians regarding oral health care of their children, and 2) explore causes and solutions of the oral health problem. Sample was 65 parents/ guardians of children in child care centers in Khlong Thom district, Krabi province. The study was divided into 4 steps including 1) survey of dental health problem, 2) feedback of data to the parents/guardians, 3) conducting group process using the Experiential Activities Planner (EAP), and 4) reflection. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, median, and content analysis.

The results showed that;

1) The majority of sample (52.3%) had knowledge at a high level. However most of them had attitudes (64.6%) and practice (93.2%) at a moderate level.

2) The oral health problem found that parents/guardians did not have the consistent behavior to train their children to brush their teeth on a regular basis. Children preferred eating candy, and addicted to milk bottle.

3) Problem solving found, unsurprisingly, were family reinforcement, distraction children from eating candy. The intervention in child care centers included promoting the participation of parents/guardians, creating teaching media, holding a meeting of parents’ network, and policy declaration of milk bottle free in the child care centers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-11