ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • โชษิตา เต็มยอด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

โรคหัวใจขาดเลือด, การรับรู้ปัจจัยเสี่ยง, ผู้ป่วยเบาหวาน, Coronary Heart Disease, Perceived Risk, Diabetic Patient

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นจากการสุ่มแฟ้มประวัติเวชระเบียนผู้ป่วย (OPD Card) ในคลินิกเบาหวานจำนวน 197 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 และ .79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด อยู่ในระดับดี ร้อยละ 87.80 และการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 62.90 อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด (r = 0.158, p <0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำมากกับการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด (r = 0.141, p<0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคหัวใจมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการรับรู้ปัจจัยเสี ่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด (r =0.320, p <0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบระบบในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานตามกลุ่มความเสี่ยง ในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด และเพิ่มการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานรับรู้สภาวะความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

 

Factors Related to Perceived Risk of Coronary Heart Disease among Diabetic Patients, Bangkaew Hospital, Phatthalung Province

This descriptive research aimed to study the factors related to the perceived risk of coronary heart disease. Sample was 197 diabetic patients who attended the Diabetes Mellitus clinic in Bangkaew Hospital, Phatthalung Province. The patients were randomly sampling from OPD cards. Research instrument was a self-reported questionnaire divided into two parts: 1) the perceived risk and 2) the patient’s knowledge about coronary heart disease regarding risk factors. The reliability of the instrument were .75 and .79, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and the Pearson Product Moment.

The results showed that the majority of the diabetic patients (87.80%) had knowledge about coronary heart disease regarding risk factors at a good level. Most of the participants (62.90%) perceived the risk of a coronary heart disease at a moderate level. There was a relationship between the age and the knowledge regarding the cause of a coronary heart disease  (r = 0.158, p<0.05). Age was correlated as well with a statistically significant perceived risk (r= 0.141, p<0.05). Moreover, the study found a relationship between the knowledge regarding the cause of a coronary heart disease and the perceived risk of coronary heart disease (r = 0.320, p<0.01).

The findings from this study suggest that a systematic teaching on coronary heart disease should be provided to diabetic patients in order to increase the knowledge and the perceived risk of it. Therefor, the diabetic patients could be responsible for themselves in order to prevent coronary heart disease.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-11