การสำรวจความต้องการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
คำสำคัญ:
ความต้องการ, ฝึกอบรม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, Training Needs Assessment, Sub-district Health Promoting Hospitalบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการรับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ การให้บริการ และทักษะทางสังคม ตลอดจนรูปแบบกิจกรรมในโครงการอบรม จากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คัดเลือกผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแบบเจาะจง จาก 76 จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีจำนวนบุคลากรมากที่สุด รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน – มิถุนายน พ.ศ.2555 อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 92.1 จำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 355 คน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.4 ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 34.6 ระยะเวลาปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.2 ปี ระยะเวลาต่ำสุด 1 ปี สูงสุด 37 ปี มีความต้องการการอบรมแบบสหวิชาชีพจากสถานบริการทุกระดับ ร้อยละ 33.1 แบบเฉพาะวิชาชีพเดียวกันจากสถานบริการทุกระดับ ร้อยละ 28.0 ต้องการเข้าร่วมอบรม จำนวน 5 วัน ร้อยละ 33.5 จำนวน 3 วันร้อยละ 31.0 หัวข้อที่บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความสนใจเข้ารับการอบรมมากที่สุดจำแนกตามทักษะต่างๆ ดังนี้ 1) ทักษะวิชาการ ได้แก่ การจัดทำนวัตกรรมสุขภาพ (M = 4.21, SD = 0.73) 2) ทักษะวิชาชีพ ได้แก่ การบริหารสาธารณสุขยุคใหม่ (M = 4.19, SD = 0.78) 3) ทักษะบริการ ได้แก่ ด้านการจัดบริการสุขภาพเชิงรุก (M = 4.28, SD = 0.74) และ 4) ทักษะทางสังคม ได้แก่ มนุษยสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม (M = 4.28, SD = 0.75 ) ส่วนรูปแบบกิจกรรมที่บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีความสนใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรณีศึกษา (M = 3.98, SD = 0.73) การสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพ (M = 3.97, SD = 0.79) และการศึกษาในพื้นที่ชุมชน (M = 3.94, SD = 0.87) ตามลำดับ
การศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดโครงการ และหัวข้อการอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานต่อไปTraining Needs Assessment to Increase Knowledge and Competency of Personnel in Sub-district Health Promoting Hospital
The objectives of this survey research were to 1) assess the training needs of personnel in Sub-district Health Promoting Hospital in order to increase their knowledge, professional competencies, and social skills, and 2) explore the activity forms in the training program. Sample was 355 health personnel selected from 76 Sub-district Health Promoting Hospital in 76 provinces except Bangkok. Purposive sampling was used. The Sub-district Health Promoting Hospitals that had the maximum number of health personnel in each province were included in the study. The Questionnaires were used to collect data between April and June 2012. Data were analyzed using descriptive statistics. The response rate was 92.1%. The study found that the majority of the sample was female (73.4%) and health academician (34.6 %). The average number for years of working experience was 12.2 years (Min=1 year, Max=37 years). The training needs were a multidisciplinary training with all levels of services (33.%) and a disciplinary professional training for all levels of services (28%). The durations of training were 5 days (33.5%) and 3 days (31%). The needed training topics were: 1) health innovation (M = 4.21, SD = 0.73), 2) professional skills regarding modern public health administration (M = 4.19, SD = 0.78), 3) service skills regarding the proactive health service (M =. 4.28, SD = 0.74), 4) social skills, regarding interpersonal skills and teamwork (M = 4.28, SD = 0.75), 5) creating a network of health (M = 3.97, SD = 0.79), and 6) the field study in community (M = 3.94, SD = 0.87), respectively. The most top three of training activities interested the personnel including case study (M = 3.98, SD = 0.73). The findings from this study can be applied to develop a training program that meets the needs of participants.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้