ปัจจัยทางการบริหารและการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • พินิจสินธุ์ เพชรมณี เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, การบริหารเวชภัณฑ์, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, Health Promoting Hospital, Management Factor, Medical Supply Management

บทคัดย่อ

การศึกษาชนิดเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Cross-sectional Survey Study) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับการบริหารเวชภัณฑ์ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการ บริหารกับการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดพัทลุง จำนวน 124 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2557 วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีระดับ ปัจจัยทางการบริหารอยู่ในระดับมาก (M = 3.58, SD = 0.41) และระดับการบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับ มาก (M = 4.10, SD = 0.42) สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (r=0.471, p-value<0.001)

ดังนั้นจากผลการศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรจัดระบบการบริหารเวชภัณฑ์ ให้เป็นในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับบริบทของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการจัดการ เพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีประสิทธิภาพ ต่อไป

 

Management Factors and Medical Supply Management in Health Promoting Hospitals, Phatthalung Province

The purposes of this cross-sectional survey study aimed to determine the level of public health management, the level of medical supply management and the relationship between management factors and medical supply management in health promoting hospitals in Phatthalung province. The sample was 124 personnel who were responsible for medical supply unit and recruited from each health promoting hospital in Phatthalung province. Research instrument was questionnaire and employed to gather the data between September and October, 2014. The data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient.

The results revealed that the overall mean scores of the management factors and the medical supply management was at a moderate level (M =3.58, SD = 0.41, and M = 4.10, SD = 0.42, respectively). The correlation between management factors and the medical supply management was statistically significant (r=0.471, p-value<0.001).

The findings suggested that health promoting hospitals should manage the medical supply system in accordance with the context of district health service networks for human resources, finance, materials, and management in order to effectively perform in the flow of medical supply management in the health promoting hospitals in Phatthalung Province.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-29