ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ชัชรินทร์ กูเมาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
  • รุ่งนภา จันทรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเอง, การรับรู้สุขภาพ, โรคเบาหวาน, Self-care Behavior, Health Perception, Diabetes Mellitus

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมักเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นสาเหตุหลักของการตาย หากมีการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมและการดำเนินชีวิตได้สอดคล้องกับภาวะของโรคจะทำให้ป้องกันและควบคุมภาวะ แทรกซ้อนต่างๆ ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแล ตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จำนวน 46 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามซึ่งผ่านการหาค่าดัชนีความสอดคล้องและหาค่าความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาคท่ากับ .73 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบค่าไคสแควร์ พบว่า

1. ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอ ปะนาเระ จังหวัดปัตตานี มีการรับรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง (M=2.56, SD=0.37) และมีพฤติกรรม การดูแลตนเองในระดับปานกลางเช่นกัน (M=2.48, SD=0.32)

2. ปัจจัยด้าน อายุ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้ป่วย เบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเตราะหัก ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (\inline \dpi{100} \chi ^{2}(2, N=46) =6.15, p=.046; \inline \dpi{100} \chi ^{2}(2 ,N=46) = 7.14, p=.028 ตามลำดับ) และ การรับรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแล ตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.65, p=0.000)

ดังนั้นควรพัฒนาคู่มือการดูแลตนเองเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการรับรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมการดูแลตนเองให้เหมาะสมกับบริบทในพื้นที่เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ตามมา

 

Factors Related to Self-Care Behavior among Diabetes Mellitus Patients in Sub-district Health Promoting Hospitals, Pattani Province

Diabetes mellitus often causes mobility and mortality, while lifestyle modification can control and prevent those disease complication. The purposes of this research were to 1) study health perception and self-care behavior among person with diabetes mellitus, and 2) explore factors related to self-care behavior among person with diabetes mellitus Sample was 46 diabetic patients who attended Bantrohhak Sub-district Health Promoting Hospital locating in Bannambor Sub-district, Panare District, Pattani Province. Stratified sampling was used. Research instrument was a questionnaire including demographic data, health perception, and self-care behavior. Content validity of the questionnaire was confirmed by experts. Reliability of the questionnaire was examined using Cronbach’s alpha coefficient, with yielding values of .73 and .88 in the part of health perception, and self-care behavior, respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson product moment correlation, and Chi-square test.

The results revealed the following;

1. Health perception and self-care behavior were at a moderate level (M=2.56, SD=0.37, and M=2.48, SD=0.32, respectively).

2. Age and level of education were statistically significant related to self-care behavior (\inline \dpi{100} \chi ^{2} (2, N=46) =6.15, p=.046; \inline \dpi{100} \chi ^{2} (2 ,N=46) = 7.14, p=.028 respectively)

3. Health perception were statistically significant related to self-care behavior (r=0.65, p=0.000)

The results of this study suggest that public health personnel should concern about the factors related to glycemic control behaviors. By providing health promotion and education to diabetic patients for behavioral modification, it is possible to improve the control of blood sugar level and, therefore, to prevent the disease complication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-02-16