ผลการให้ข้อมูลตามแนวทางการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลา
คำสำคัญ:
แนวทางปฏิบัติ, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, ความวิตกกังวล, Practice Guideline, Patient with Breast Cancer, Anxiety, Breast Surgeryบทคัดย่อ
การผ่าตัดโดยทั่วไปมักก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะการผ่าตัดโรคมะเร็งเต้านมซึ่งอาจใช้เวลาในการผ่าตัดค่อนข้างนาน การให้ข้อมูลที่ชัดเจนสามารถช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยลงได้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-group Pretest-Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลก่อนและหลังการให้ข้อมูลตามแนวทางปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่แพทย์นัดมาผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 รายเครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามความวิตกกังวลที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่น KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติค่าที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนให้ข้อมูล ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลา มีความวิตกกังวลในระดับมาก ร้อยละ 66.7 และมีความวิตกกังวลระดับปานกลาง ร้อยละ 33.3หลังเข้าโปรแกรมการให้ข้อมูลตามแนวทางการปฏิบัติสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัดในการให้ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยลดลง อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 40.0 และความวิตกกังวลระดับปานกลาง ร้อยละ 33.3 และมีเพียงร้อยละ 26.7 ที่ระดับความวิตกกังวลอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำเปรียบเทียบโดยใช้สถิติค่าทีพบว่า ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มตัวอย่างหลังทดลอง(M=5.40, SD= 2.58) น้อยกว่าก่อนทดลอง (M=7.23, SD= 1.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(df) =3.748 (29), p=.001)
แนวปฏิบัติการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม เป็นแนวทางให้พยาบาลห้องผ่าตัดทุกคนได้นำไปใช้ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมทุกราย เพื่อลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยทางด้านจิตใจและให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ
Using Practice Guideline When Giving Preoperative Information: Effects on Anxiety among Patients with Breast Cancer Prior to Surgery
Getting surgery often causes anxiety to patients, especially breast cancer surgery which is quite a long time lasting one. Providing clear information helps patient to reduce anxiety. This study was a quasi-experimental design (One-group Pretest-Posttest Design) that aimed to compare anxiety before and after providing information to patients with breast cancer, following practice guideline for nurses in operating room. Sample was 30 patients with breast cancer who were admitted to Songkhla hospital for breast surgery. Purposive sampling was used. Research instrument was a questionnaire regarding anxiety, which was validated by a panel of three experts. The KR-20 was used to examine reliability of the questionnaire, yielding a value of .80. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test.
The results showed that before using the practice guideline, the patients who underwent breast cancer surgery had a high and moderate level of anxiety (66.7 and 33.3 percent, respectively). After using the practice guidelines, the anxiety levels of the patients were decreased; the percentages of low, moderate, and high level of anxiety were 40, 33.3, and 26.7, respectively. And the differences of anxiety score between before and after the experiment was statistically significant (t(df) = 3.748 (29), p=.001).
The findings suggest that the practice guideline regarding preoperative information for patient with breast cancer should be used as a tool for nurses in providing information to all breast cancer patients in order to reduce anxiety of those patients. It is part of a psychological care to improving quality of nursing care.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้