ประสบการณ์ของผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • พันณี ขันติกาโร นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, โรคเบาหวาน, Preventive Behavior, Diabetes Mellitus, Behavior Modification

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และประสบการณ์
ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน 
ผู้ให้ข้อมูล คือประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจงที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 
ใช้การบันทึกเสียงและการจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษา
พบว่าผู้ให้ข้อมูลมีการรับรู้ต่อโรคเบาหวานว่า 1) ตัวเองมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวาน 2) โรคเบาหวานมีความรุนแรง ทำให้พิการ หรือเสียชีวิตได้ และ 3) รู้สึกกลัวว่าตัวเองจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน มีประสบการณ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ด้าน คือ 1) ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยลดปริมาณอาหารลง ปรุงอาหารกินเอง เปลี่ยนเวลารับประทานอาหาร และปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่รับประทานเป็นประจำ 2) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย โดยการริเริ่มออกกำลังกายที่ตัวเองถนัด ทำกิจกรรมทางกายมากขึ้น ปรับเปลี่ยนเวลาทำงาน และ 3) ปรับเปลี่ยนด้านอารมณ์และสังคม 
โดยการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องสุขภาพ ชวนเพื่อนพาคนในครอบครัวไปออกกำลังกายและทำกิจกรรมนอกบ้าน และรวมกลุ่มออกกำลังกายและทำกิจกรรมในชุมชน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมใน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเบาหวาน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายในการดูแลสุขภาพ 
2) การสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว 3) การรับรู้ข่าวสารและเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ 4) การเข้าถึงสถานที่และอุปกรณ์ออกกำลังกายในขุมชน และ 5) การมีกลุ่มเพื่อน ชมรมต่าง ๆ ในชุมชน

 

Preventive Behaviors: Perceptions and Experience of People at Risk for Diabetes Mellitus (DM)

This qualitative research aimed to study the perceptions and experience of people at risk regarding behavior modification and related factors in order to prevent Diabetes Mellitus (DM). Sample was 10 people at risk for diabetes. Purposive sampling with specific criteria was used. In-depth interview, observation without participation, audio recording, and note taking were applied for data collection. Data were analyzed using inductive conclusion.

The study revealed that perceptions of Diabetes Mellitus (DM) among the sample were: 1) perceived risk, 2) perceived severity, and 3) fear of DM. Experiences in behavioral modification were grouped in three areas: 1) adjusting of eating habits by reducing the amount of food, cooking own foods, changing meal time, and modification of regular foods’ type; 2) behavior modification by doing exercise in one’s own interest, doing more physical activity, and adjusting work hours; and 3) modification of emotional and social health by meeting friends and doing discussion exchange, doing group exercise and outdoor activities, and helping community’s activities. The study found that factors promoting behavior modification to prevent diabetes were: 1) setting goal of health care, 2) family members support, 3) perception and access to health information, 4) access to facilities and fitness equipment in community, and 5) having group of friends in community clubs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25