การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • นวรัตน์ ไวชมภู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • อาภรณ์ คงช่วย พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ งานห้องคลอด โรงพยาบาลยะลา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย, เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, การกลับรักษาซ้ำ, Discharge Planning, Preterm Labor Pain, Re-admission

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และเปรียบเทียบอัตราการกลับเข้ารักษาซ้ำภายใน 28 วัน กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 24 ราย กำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ.05 ค่า Power Analysis เท่ากับ .80 สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประวัติการตั้งครรภ์และภาวะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
แบบบันทึกข้อมูลก่อนหลังจำหน่ายและการกลับรักษาซ้ำภายใน 28 วัน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการวางแผนจำหน่าย หาความเที่ยงโดยการสังเกต ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาพและการวางแผนจำหน่าย ขั้นตอนที่ 2 ปฏิบัติตามแผนการจำหน่าย ขั้นตอนที่ 3 การติดตามหลังจำหน่าย

2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในกลุ่มทดลอง (ร้อยละ 25) มีอัตราการกลับรักษาซ้ำน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 54.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (\inline \dpi{100} \chi ^{2}=.039, p<.05)

 

Development of a Discharge Planning Model for Pregnant Women with Preterm Labor Pain

The purposes of this research and development were to: 1) develop a discharge planning model for pregnant women with preterm labor pain, and 2) compare re-admission rate within 28 days after discharge. Samples were 48 pregnant women with preterm labor pain and randomly assigned into two groups: control and experimental group (24 subjects per group). The power analysis was equal to 0.80 with a 95% confidence interval. The instruments employed to collect data were: 1) the discharge planning model, 2) questionnaire including general information as well as history of pregnancy and risk of preterm labor, 3) data record form of before and after discharge, and re-admission within 28 days. Reliability of the instrument was 0.89. Data were analyzed using frequency, percentage and Chi-square.The results revealed the following;

1. The developed discharge planning model for pregnant women with preterm labor pain consists in three steps: 1) assessment of conditions and discharge planning, 2) implementation of the discharge planning model, and 3) follow up after discharge.

2. An evaluation of using the discharge planning model for pregnant women with preterm labor pain in term of the re-admission rate found that the experimental group had re-admission rate (25%) less than the control group (54.16%) statistically significant (\inline \dpi{100} \chi ^{2} =.039, p <.05).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25