ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือด ระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ

ผู้แต่ง

  • มลฤดี มาลา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจและหลอดเลือด, การระงับความรู้สึก, ผู้สูงอายุ, Cardiovascular Complication, Surgery, Anesthesia, Older adults

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดขณะผ่าตัดในผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ที่มารับการผ่าตัดทั่วไปและได้รับยาระงับความรู้สึกและเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดขณะผ่าตัด ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ตั้งแต่ตุลาคม 2557- กุมภาพันธ์ 2558 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ จำนวนทั้งสิ้น 196 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกการให้ยาระงับความรู้สึกจากการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 
ค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติทดสอบไคว์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า

1. ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางระบบหัวใจและหลอดเลือดระหว่างผ่าตัดในระดับรุนแรง
ปานกลางมีมากที่สุด ร้อยละ 59.4 และระดับรุนแรงเล็กน้อย พบร้อยละ 40.6

2. ปัจจัยด้านวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดคือ ปัจจัยด้านการสูญเสียเลือด (Blood Loss) และภาวะที่มีโลหิตจางก่อนผ่าตัด 
(Anemia) มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ดังนั้นควรเลือกวิธีให้ยาระงับความรู้สึกที่เหมาะสมในผู้ป่วยสูงอายุ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดให้เกิดน้อยที่สุด

 

Factors Related to the Occurrence of Cardiovascular Complications during Surgery among Older Adults

This retrospective cross-sectional study aimed to identify factors associated with the occurrence of cardiovascular complications during surgery among older adult patients. Sample was 196 patients aged 65 years and over who got general surgery, received anesthesia, and had complications of cardiovascular system during the surgery in Hat Yai hospital during the period of October 2014 to February 2015. Sample size was determined by using Yamane formula. And simple random sampling was used. Research instrument was anesthesia record form. Data were analyzed using frequency, percentage, statistics and chi-square test. The study found that;

1. The majority of patients (59.4%) had cardiovascular complications during the surgery at a moderate level of severity. And the rest (40.6 %) had a mild level of the severity.

2. Method of anesthesia was statistically significant associated with cardiovascular complication in term of blood loss (p<.05). And having anemia before receiving surgery was statistically significant associated with the occurrence of cardiovascular complications (p<.05).

The findings suggest that it is important to use a proper method of anesthesia in older adult patients to prevent risks and complications during surgery and reduce such risks as much as possible.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25