ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, โรคความดันโลหิตสูง, Knowledge, Attitude, Self–care Behaviors, Hypertensionบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อาศัยอยู่ในเขต ต.คลองรี อ.สทิงพระ จ.สงขลา คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power ได้ขนาดตัวอย่าง 138 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผ่านการหาความตรงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านระดับความรู้โดยใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 และแบบสอบถามระดับทัศนคติและระดับพฤติกรรมโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไควสแควร์ และสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 57.2 มีระดับทัศนคติในระดับ ปานกลาง ร้อยละ 52.2 และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมในระดับสูง ร้อยละ 53.6
2. ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (=7.823, p=.02) ส่วนอายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ป่วยประวัติการเจ็บป่วยของบุคคลในครอบครัว และการได้รับคำแนะนำ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง นอกจากนี้พบว่าปัจจัยด้านความรู้และทัศนคติ มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r=.595 p=.000, r=.499, p=.000) ตามลำดับ
ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินงานเชิงรุกเพิ่มขึ้น ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ได้แก่ การให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย การมีส่วนร่วมของแกนนำในชุมชน
Factors Related to Self-Care Behaviors among Patients with Hypertension
This descriptive study aimed to assess knowledge, attitude and self–care behaviors and to explore factors associated with self–care behaviors among patients with hypertension. 138 participants were invited to take part in the study using stratified random sampling technique. The research instrument was a questionnaire including knowledge andattitude about hypertension, as well as self–care behaviors. Content validity of questionnaire was confirmed by 3 experts. Reliability of the questionnaire on hypertension knowledge was examined using Kuder Richardson-20 and reported at .87. Attitude and self –care behavior questionnaire were examined using Cronbach’s alpha coefficient and reported at .84. The data were analyzed using descriptive statistics. The correlation between the factors and the self-care behaviors was analyzed by using both Chi–Square (-Test) and Pearson Product Moment Correlation.The results revealed that the knowledge and self-care behaviors were rated at a high level (57.2% and 53.6%, respectively), while attitude was rated at a moderate level (52.2%). With regard to personal factors, gender was found being significantly related to self-care behavior ( =7.823, p=.02). However, age, level of education, duration of illness, family history and health literacy were not associated with self–care behaviors. In addition knowledge and attitude regarding hypertension were statistically significant related to self-care behavior (r=.595, p=.000; r=.499, p=.000, respectively).
Health personnel should continually promote and educate patients and families. Proactive health services and community participation must be applied.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้