ความรู้และการปฏิบัติในการคัดกรองความเสี่ยงและการดูแลแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวาน ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล 5 จังหวัดภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สมพร วรรณวงศ์ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (APN) พยาบาลชำนาญการพิเศษ ฝ่ายบริการพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • ปรารถนา วัชรานุรักษ์ นักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

แผลที่เท้า, โรคเบาหวาน, การคัดกรองความเสี่ยง, การดูแลแผล, Diabetic Foot Ulcer, Screening Risk, Wound Care

บทคัดย่อ

แผลที่เท้าจากโรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วยและเศรษฐกิจ จำเป็นต้องได้รับป้องกันการเกิดแผลโดยการคัดกรองความเสี่ยง และเมื่อมีแผลต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
โดยพยาบาลในชุมชน วิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ในการประเมินความเสี่ยงการเกิดแผล การดูแลแผลเบาหวานและเปรียบเทียบความรู้ก่อน-หลังการอบรม และการปฏิบัติการคัดกรองและดูแลแผลเบาหวานระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่เคยได้รับการอบรมและกลุ่มที่ไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาบุคลากรตามโครงการสนองน้ำพระราชหฤทัยในหลวงทรงห่วงใยสุขภาพประชาชนในวันที่ 13 และ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2554 จำนวนทั้งสิ้น 162 คน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการอบรม นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าทีและ
ไควสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 71.52 ไม่เคยได้รับการอบรมการดูแลแผลเบาหวาน มากกว่า
ร้อยละ 80 ไม่เคยอบรมขูดหนังหนาและตรวจการตีบของหลอดเลือดที่เท้า (ABI) ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 ทั้งนี้คะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อน
การอบรม (Pre-test) ระหว่างกลุ่มแตกต่างกัน โดยกลุ่มที่เคยผ่านการอบรมมาก่อนมีคะแนนเฉลี่ย (M=10.0, SD=1.33) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยอบรม (M=8.8, SD=1.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 แต่หลังการอบรมคะแนนเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ด้านการปฏิบัติพบว่า มีเฉพาะการตรวจเท้าด้วยโมโนฟิลาเม้นท์ที่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05 แต่ด้านอื่น
คือ การซักประวัติ การตรวจเท้า และการตีบของหลอดเลือดที่เท้า (ABI) และการแนะนำเชิงป้องกัน
ไม่แตกต่างกัน

ดังนั้น พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 จังหวัดภาคใต้จำนวนมากยังไม่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับประเมินความเสี่ยง และการดูแลแผลเท้าเบาหวาน รวมถึงไม่มีการปฏิบัติเพื่อ
คัดกรองความผิดปกติของเท้าในการป้องกันการเกิดแผล จึงจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระดับปฏิบัติการ ให้มีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์และการตรวจคัดกรองเพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบาหวานในการดูแลและป้องกันแผลที่เท้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อไป

 

Knowledge and Practice Regarding Risk Screening and Diabetic Foot Ulcer Care among Community Nurses in Five Southern Border Provinces

The Diabetic Foot Ulcer (DFU) affects not only health but many other aspects of a diabetic patients’ life. The current health promotion efforts against the Diabetic Foot Ulcer (DFU) is by using two principal means: 1) medical screening for risk; and 2) an appropriate wound management by community nurses. This cross sectional study aimed to assess the knowledge and practice of those two means. This is to include, the comparison of knowledge before and after training; screening and diabetic foot care operations between groups, with and without prior training.The study was conducted using secondary data from a questionnaire administered to 162 nurses who participated in the project for the king on the 13th and 27thof July 2011 at community health promoting hospitalsin the 5 southern border provinces. Data were analyzed using paired t- test, chisquared test and descriptive statistics.

The results revealed that there was 71.52% of the community nurses who had no training for the management and diabetic foot ulcer scare, while nearly 90% had never trimmed calluses, and/or performed ankle-brachial index measurement. The overall mean post-test score was higher than the pre-test and was statistically significant (p<.05). Participants with prior training had mean score (M=10.00, SD=1.33) about knowledge regarding risk factors screening and diabetic foot ulcers care higher than those without prior training (M=8.80, SD=1.61) and was statistically significant (p<.05). However, the post-test scores of both groups were not different. In term of practice, only the monofilament examination was different between the two groups with statistical significance (p<.05). The findings from this study showed that few nurses at community health promoting hospitals had trained on the diabetic foot ulcer scare and practice in screening to prevent diabetic foot ulcers. So it is important to provide equipment, training and screening system.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25