ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารในร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร เขตอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • พุทธจักร ช่วยราย นักเทคนิคการแพทย์ปฏิบัติการ โรงพยาบาลเขาชะเมาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

คำสำคัญ:

สุขาภิบาลอาหาร, ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร, ความรู้, พฤติกรรม, Coliform Bacteria Contamination, Food Sanitation, Knowledge and Behavior Program, Food Stands, E-coli

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม (Pre testñPost test Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ และ พฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยคะแนนข้อกำหนดสุขาภิบาลร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) ศึกษาการผ่านเกณฑ์โคลิฟอร์มแบคทีเรียในร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 66 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการพัฒนาความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่า IOC=.80 แบบทดสอบความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ได้ค่า KR-20=.85 แบบสังเกตพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ทดสอบ
ความเชื่อมั่นโดยการหาค่า Inter Observer ได้ค่า ร้อยละ 78 และแบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร ของกองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ 
ด้านสุขาภิบาลอาหารก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 มีคะแนนความรู้หลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 มีคะแนนพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 มีคะแนนพฤติกรรมหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่ากลุ่มควบคุม มีคะแนนข้อกำหนดสุขาภิบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 สูงกว่ากลุ่มควบคุม ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารกลุ่มทดลองทุกร้าน 
หลังเข้าร่วมโปรแกรมผ่านเกณฑ์การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

 

Effects of Food Sanitation Knowledge and Behavior Program on Against E-coli Bacterial Presence in Food Stands in Kaochamao District, Rayong Province

This quasi-experimental study aimed to examine the effects of the food sanitation knowledge and behavior program for food stands’ owners in Kaochamao district, Rayong province on their knowledge and behaviors relating to the food sanitation. The program was evaluated in terms of food sanitation knowledge and behaviors among the food stands’ owners, considering the sanitary determinants factors in the occurrence of E.coli bacterial presence in the specimen from food stands. Sixty-six subjects of food stands were selected and divided into two groups (33 subjects per group), control and experimental group. The program consisted in a 2-day teaching and demonstration about sanitary fundamentals in alimentary chain and food human consumption. Data collection was made by using observation tools and paper test for knowledge. It was approved by 3 experts for its content validity (IOC =.80). Reliability of paper test was examined using KR 20 and yielded value of .86. And observation toolswere examined using interobserver and its value was 78 percent. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and independent t-test.

The findings revealed that the experimental group had significantly higher scores than the control group in terms of food sanitation knowledge, behavior and food sanitary determinants (p<.001). All of subjects in the experimental group had passed the criteria of bacterial contamination.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25