การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวฮีลอยด์ชนิดเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • สุธิสา เต็มทับ พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • สุดศิริ หิรัญชุณหะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • กิตติกร นิลมานัต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

มะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยฮีลอยด์ชนิดเฉียบพลัน, เคมีบำบัด, การดูแลตนเอง, วิจัยเชิงปฏิบัติการ, Acute MyeloidLeukemia, AML, Chemotherapy, Self-care Promotion, Action Research

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยฮีลอยด์ชนิดเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยฮีลอยด์ชนิดเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัดที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ 
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จำนวน 10 ราย เลือกแบบเจาะจง การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 
การศึกษาสถานการณ์ปัญหา ระยะที่ 2 วิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 
แบบประเมินความสามารถการปฏิบัติกิจกรรม และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้ค่าความ
เชื่อมั่นระหว่าง .83 - .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองด้วยสถิติวิเคราะห์ 
Friedman test และวิเคราะห์ Post-hoc ด้วยสถิติวิเคราะห์ Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test

ผลการวิจัย ระยะที่ 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาเรื่อง 1) การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค 2) วิตกกังวล/กลัวเสียชีวิต 3) การดูแลตนเองเมื่อเม็ดเลือดต่ำผิดปกติ 4) การดูแลตนเองเมื่อปวด 5) การดูแลตนเองเมื่อมีไข้สูง และ 6) การดูแลตนเองเมื่อเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และแผลในช่องปาก ระยะที่ 2 พบว่า 
รูปแบบส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่างมี 4 รูปแบบ คือ 1) ให้ความรู้และเป็นที่ปรึกษา 2) สร้างพลังใจให้เกิดความมั่นใจและสามารถคิดตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง 3) การจัดแบ่งโซนผู้ป่วย และ 4) จัดเข้ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ผู้วิจัยประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง 3 ครั้ง 
พบว่ากลุ่มตัวอย่างภายหลังได้รับการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิจัยเชิงทดลองถึงผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองไปใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยฮีลอยด์ชนิดเฉียบพลันที่ได้รับยาเคมีบำบัด

 

Development of Self-care Promotion among Patients with Acute Myeloid Leukemia (AML) and Receiving Chemotherapy

This action research aimed to develop a self-care model for patients with acute myeloid leukemia (AML) while receiving chemotherapy. Purposive sampling was used. Sample was 10 hospitalized AML patients receiving induction phase chemotherapy course at Internal Medical unit in Songklanagarind Hospital and agreed to participate. The research process was divided into 2 phases: phase I was Reconnaissance and phase II Action Research. Data collection methods included in-depth interviews and self-care behaviors questionnaires. Content analysis was used to analyze the data while descriptive statistics, Friedman test, and Wilcoxon matched-pairs signed-ranks test were applied for quantitative data.

Results from the reconnaissance phase revealed that common concerns among participants included: 1) self-care when being sick, 2) fear of death, 3) self-care when having low immunity, 4) self-care when having pain, 5) self-care when having a high fever, and 6) self-care when experiencing anorexia, nausea, vomiting, or mucositis. Results from the phase II showed that the model in promoting self-care among patients with AML consisted in 4 activities, including: 1) providing health education and counseling, 2) building up will power to enhance confidence and ability to make decision, 3) zoning patients, and 4) organizing the self-help groups. Self-care behaviors were assessed 3 times. The total mean score of self-care behaviors after intervention was significantly higher than before intervention (p < .05).

Findings of this study are useful to develop an experimental design to evaluate the effects of promoting self-care program among patients with acute myeloid leukemia receiving chemotherapy.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25