การบริหารเวชภัณฑ์และปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลจังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ณัษฐ์พงษ์ พัฒนพงศ์ เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

การบริหารเวชภัณฑ์, ปัจจัยทางการบริหาร, มาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ ในโรงพยาบาล, Medical Supply Management, Management Factor, Hospital Medical Supplies

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาระดับการบริหารเวชภัณฑ์ตามมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพ
การบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล ระดับปัจจัยทางการบริหาร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทาง
การบริหารกับการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในจังหวัดพัทลุง ครอบคลุมทั้งยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา เนื่องจากผลการประเมินการบริหารเวชภัณฑ์ตามมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล ในอดีตจนถึงปีงบประมาณ 2557 ได้ดำเนินการเฉพาะเรื่องยา ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ด้านยา วัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุวิทยาศาสตร์
การแพทย์ และวัสดุรังสีของโรงพยาบาลในจังหวัดพัทลุง จำนวน 11 โรงพยาบาล ๆ ละ 5 คน รวมจำนวน 55 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างวันที่ 5 มกราคม ถึง วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับผิดชอบงานบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลมีระดับการบริหารเวชภัณฑ์อยู่ในระดับมาก (M=4.18, SD=0.36) และจากทุกกลุ่มงาน (6 กลุ่มงาน) มีระดับการบริหารเวชภัณฑ์
อยู่ในระดับมาก โดยมีกลุ่มงานเภสัชกรรมมีระดับการบริหารเวชภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.43, 
SD= 0.23) และรองลงมาคือกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ (M=4.21, SD=0.36) ปัจจัยทางการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.49, SD=0.44) ทุกกลุ่มงานมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มงานเภสัชกรรมอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=3.61, SD=0.13) และรองมาคือกลุ่มงานรังสีเทคนิค (M= 3.57, SD=0.13) และสำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่าปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.607, p<.001)

ดังนั้นจากผลการศึกษา โรงพยาบาลควรพัฒนาระดับการบริหารเวชภัณฑ์ให้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดทุกกลุ่มงาน และให้ไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรการพัฒนาประสิทธิภาพ 
การบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล ให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการจัดการ ในทุกกลุ่มงานเพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลมีประสิทธิภาพ ต่อไป

 

Medical Supply Management and Management Factors in Phatthalung Hospital, Phatthalung Province

This cross-sectional survey research aimed to determine levels in medical supply management in correlation with recent medical supplies measures in hospital. It covered pharmaceutical and non-pharmaceutical supplies. Fifty-five public hospital managers were recruited from 11 hospitals in Phatthalung province. Repartition was among five units as follows: 1) pharmaceutical supplies, 2) medical materials, 3) dental materials, 4) medical science materials and 5) radiation materials. Data were collected using questionnaire between January 15 and February 15, 2015 and analyzed using frequency, percentage, means, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient.

The results revealed that the overall level of hospital medical supplies management was high (M= 4.18, SD = 0.36). Additionally, the medical supply management of all five units was high as well. The highest level of medical supply management was among the Pharmacy Department (M=4.43, SD =0.36) followed by the Medical Science Department (M =4.21, SD = 0.36). The mean score of the management factors was at a medium level (M=3.49, SD = 0.44) and similar for the rest of departments. The highest score of the management factors was Pharmacy Department and Radiation Technical Department (M= 3.61, SD = 0.13 and M= 3.57 =SD =0.13 respectively). The correlation analysis of the management factors and hospital medical supplies management was positive and statistically significant  (r = 0.607, p<.001).

Therefore, the level of hospital medical supplies management in all departments should be improved to approach the highest level in the same professional direction and serve the hospital medical process management. All four considered factors, which were man, money, materials, and management, were related to efficient management of the hospital medical supplies.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25