บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวัง ด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการบันทึกทางการพยาบาล และด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากร ในโรงพยาบาลสงขลา
คำสำคัญ:
บทบาทการนิเทศ, หัวหน้าหอผู้ป่วย, SupervisionRole, Head Nursesบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสมผสานนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบบทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวัง ด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการบันทึกทางการพยาบาล ด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากร และศึกษาปัญหาอุปสรรคบทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยจำนวน 260 คนหัวหน้าหอผู้ป่วย ผู้ช่วยหัวหน้าหอผู้ป่วย และหัวหน้างานจำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวัดความกลมกลืนของโมเดล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริง และที่คาดหวังอยู่ในระดับมาก และมีความแตกต่างทั้งรายด้าน และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยบทบาทการนิเทศที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าบทบาทที่เป็นจริงทั้งรายด้าน และโดยรวม ผลการวิเคราะห์โมเดลพบว่าค่าดัชนีทุกค่าผ่านเกณฑ์ และมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีตัวบ่งชี้สำคัญที่สุดในบทบาทการนิเทศที่เป็นจริงของหัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถอธิบายด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ ด้านการบันทึกทางการพยาบาลได้ร้อยละ 92 (W= .96, R2= .92) รองลงมาได้แก่ ด้านการใช้กระบวนการพยาบาลได้ร้อยละ 87 (W= .93, R2= .87) และการพัฒนาความรู้ของบุคลากรได้ร้อยละ 80 (W= .90, R2= .80) สำหรับปัญหาอุปสรรคบทบาทการนิเทศ มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้นิเทศ ด้านผู้รับการนิเทศ และด้านสภาพแวดล้อม ผลการวิจัยสามารถนำไปออกแบบ และพัฒนาสมรรถนะในการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของบุคลากรในหน่วยงาน และองค์กร
Expected and Actual Supervision Role of Head Nurses in Application of Nursing Process on Nursing Record and Knowledge Development of Personnel at Songkhla Hospital
This mixed method research aimed to study the expected and actual supervision role of head nurses in the application of nursing process, nursing record and knowledge development of the personnel, to analyze the elements of supervision role of the head nurses and to determine problems and guidelines to prevent problems related to the supervision role of the head nurses at Songkhla Hospital. Sample included 260 registered nurses working in the patient wards, and 38 head nurses and unit chiefs. The instruments used in this study consisted of a questionnaire and an unstructured interview. Reliability of the questionnaire was tested using Cronbach’s alpha coefficientyielding a value of. 98. The data were analyzed using descriptive statistics, confirmatory factor analysis, measures of goodness of fit, and content analysis.
The findings of the study revealed that overall mean score of the expected and actual supervision role of the head nurses was at ahigh level. The difference among each aspects of those score was statistically different (p=.001). The mean scores of the expected supervision role, both overall and in each aspect, were higher than the actual supervision role. The results of model testing showed that all indices for the tests exceeded the set criteria and attained a goodness of fit with empirical data. The top three significant key indicators of the actual supervision role of the head nurses was shown in the nursing record, the use of nursing care process, and knowledge development of personnel; these could be explained 92 percent (W=.96, R2 =.92), 87 percent (W=.93, R2 =.87), and 80 percent (W=.90, R2 =.80), respectively. The three aspects of problems, obstacles, and guidelines for improvement of supervision role of head nurses were the following: supervisor, supervisee and environment.
The findings of the research can be applied in the design and development of supervision capacity of head nurses to meet the needs and expectations of personnel in work units and organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้