การพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศกับการใช้สารสนเทศ ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ลัคนา แซ่บู่ โรงพยาบาลสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาตนเอง, การใช้สารสนเทศ, บริหารงาน, บริการพยาบาล, วิชาการ, Self-development, Utilization of Informatics, Professional Nurses, General Hospitals

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาตนเอง
ด้านสารสนเทศและระดับการใช้สารสนเทศ รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเอง
ด้านสารสนเทศกับการใช้สารสนเทศตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้ 
กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 1 ปี จำนวน 350 ราย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ ส่วนที่ 2 แบบสอบถามระดับการพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศ และส่วนที่ 3 แบบสอบถามระดับการใช้สารสนเทศ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความตรง
เชิงเนื้อหาส่วนที่ 2 เท่ากับ .88 ส่วนที่ 3 เท่ากับ .87 และวิเคราะห์หาความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ .97 ใช้สถิติวิเคราะห์ คือสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

คะแนนเฉลี่ยการพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศโดยรวม (4 ด้าน) อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.75, SD=0.45) โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนรายด้าน ความจำเป็นในการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมาก (M=3.16, SD=0.52) ส่วนอีก 3 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านวิธีการพัฒนาตนเอง (M=2.61, SD=0.54) ด้านการดำเนินการพัฒนาตนเอง (M=2.43, SD=0.71) และด้านการประเมินผลการพัฒนาตนเอง (M=2.79, SD=0.55) ส่วนการใช้สารสนเทศโดยรวม 3 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยการใช้สารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.76, SD=0.57) ดังนี้ การใช้สารสนเทศด้านบริการพยาบาล (M=2.91, SD=0.61) การใช้สารสนเทศด้านวิชาการ (M=2.78, SD=0.64) และการใช้สารสนเทศด้านบริหาร (M=2.60, SD=0.69) ตามลำดับ ส่วนการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศของพยาบาลวิชาชีพกับการใช้สารสนเทศ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=.65) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาตนเองด้านสารสนเทศของพยาบาลวิชาชีพตามลักษณะการใช้สารสนเทศตามบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ ทั้งด้านการบริหารงาน
ด้านการบริการพยาบาล และด้านวิชาการ

 

Self-Development in Informatics and Utilization of Informatics as Perceived by Professional Nurses in General Hospitals, Southern Thailand

The objective of this descriptive research was to investigate levels of selfdevelopment in informatics and utilization of informatics as perceived by professional nurses in general hospitals in the southern part of Thailand, and the relationship between self-development in informatics and utilization of informatics as perceived by professional nurses in general hospitals in the southern part of Thailand. The subjects were 350 professional nurses who were selected by multi-stage sampling. The research instrument was a questionnaire consisting of three parts: 1) general information, 2) questions on levels of self-development in informatics, 3) questions on levels of utilization of informatics. The instrument was confirmed by three experts for its content validity. Content validity of Part 2 was .88 while it was .87 for Part 3. The reliability of the instrument was tested with Cronbach’s alpha at the coefficient of .97. The data were analyzed with descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient.

The study found that the overall mean score for self-development in informatics (in four aspects) was at a moderate level (M=2.75, SD=0.45) with only one aspect at a high level, which was the need for self-development (M=3.16,SD=0.52) while the levels of the other three aspects were at moderate levels: methods of self-development (M=2.61, SD=0.54),operation of self-development (M=2.43, SD=0.71) and evaluation of self-development (M=2.79,SD=0.55). Overall utilization of informatics was at a moderate level (M=2.76,SD=0.57), and the level for each aspect was as follows: utilization of informatics for nursing services (M=2.91, SD=0.61), utilization of informatics for academics (M=2.78,SD=0.64), and utilization of informatics for administration (M=2.60, SD=0.69). The relationship between self-development and utilization of informatics among professional nurses was found to be positive at a moderate level (r=.65) with statistical significance (p<.05).

The results of the study could be used as guidelines for self-development in informatics among professional nurses. The utilization of informatics may greatly enhance the role and responsibility of professional nurses in terms of administration, nursing services, and academics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-20