ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง
คำสำคัญ:
ความรู้, การรับรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, ประชาชนกลุ่มเสี่ยง, Self-Care Behaviors, Diabetes Mellitus, Hypertensionบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปี ขึ้นไปในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ที่ได้รับการคัดกรองภาวะ เบาหวานและความดันโลหิตสูง ผลการตรวจคัดกรองได้กลุ่มภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 380 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 142 คน และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 238 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ผ่านการหาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .82 และใช้สูตร KR20 ได้ค่าเท่ากับ .75 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการรับประทานอาหาร ข้อที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ รับประทานผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ผักคะน้า เป็นต้น (ร้อยละ 73.24 และ73.53) ด้านการออกกำลังกาย ข้อที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือการทำงานออกแรงจนเหงื่อออกแทนการออกกำลังกาย (ร้อยละ 53.52 และ 53.36) ด้านความเครียด ข้อที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ เมื่อมีอาการปวดศีรษะ หรือคิดมากในเรื่องต่าง ๆ ท่านพักผ่อนเพื่อการผ่อนคลาย (ร้อยละ 73.24 และ 73.53)
2. ปัจจัยด้านความรู้ และการรับรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค เบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 ( =36.000, Cramer’s V = 0.015; = 443.746, Cramer’s V = 0.030; =45.000, Cramer’s V = 0.008; =444.894, Cramer’s V =0.030)
ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการ ดำเนินงานเชิงรุกเพิ่มขึ้นโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
Factors Related to Self-Care Behavior for Prevention of Diabetes Mellitus and Hypertension among Population Groups at Risk
This descriptive research aimed to: 1) study self-care behavior to prevent diabetes mellitus (DM) and hypertension (HT) among population group at risk aged 35 years and over in Sadao district, Songkhla province, 2) identify factors associated with self-care behaviors to prevent DM and HT. Sample was men and women aged 35 years and over in Sadao district, Songkhla province that had been screened for DM and HT. The total number of the people at risk from the screening was 380 samples: 142 subjects with DM and 238 subjects with HT. Stratified random sampling was applied. Research instrument used for data collection was a questionnaire consisting in four parts. Its content validity was confirmed by three experts.The reliability was tested using the Cronbach’s alpha coefficient and KR-20 that yielded values of .82 and .75, respectively. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, average, standard deviation, and Chi – square.
The results revealed the following.
1. Overall, self-care behavior to prevent DM and HT was at a moderate level. When considering in each part, it was found that the self-care behaviors regarding eating green vegetables (such as morning glory, lettuce, and kale)was the highest practice (73.24 and 73.53 percent). The highest self-care behavior regarding exercise was working hard until sweating (53.52 and 53.36 percent). The highest self-care behavior regarding stress management was relaxation when having headache or worrisome (73.24 and 73.53 percent).
2. Knowledge and perception were significantly correlated with the self-care behaviors to prevent DM and HT among people at risk group for diabetes ( = 36.000, Cramer’s v = 0.015; = 443.746, Cramer’s v = 0.030; = 45.000, Cramer’s v = 0.008; = 444.894, Cramer’s v = 0.030, p<.05).
The research findings suggest that health personnel should provide knowledge continually through increasing proactive operations with more concern of community participation.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้