การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและการเกิดฟันผุที่ระยะเวลา 60 เดือน โรงพยาบาลบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การเคลือบหลุมร่องฟัน, ฟันผุ, Effectiveness, Dental Sealant, Tooth Decayบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross-Sectional Study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 60 เดือน และหาความสัมพันธ์ของการ ยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันและคราบจุลินทรีย์กับการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 จำนวน 259 ซี่ จากนักเรียน 144 คน ที่เคยได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 เมื่อปีการศึกษา 2551 เครื่องมือที่ใช้ตรวจฟัน ได้แก่ แบบประเมินการยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน การตรวจฟันผุ และการตรวจคราบจุลินทรีย์ โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยวิธีการปรับมาตรฐานและหาความเที่ยงโดยการปรับมาตรฐานในผู้ตรวจคนเดียว (Intra- Examiner Calibration) อีกครั้ง ได้ค่า Kappa Agreement เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า
มีการยึดติดสมบูรณ์ของสารเคลือบหลุมร่องฟันเพียงร้อยละ 11.11 ส่วนใหญ่พบการหลุดหมดของสารเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 62.78 การยึดติดของสารเคลือบหลุมร่องฟันมีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุของของฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ระยะเวลา 60 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (= 13.334, p-value=.001) ในส่วนของคราบจุลินทรีย์ พบว่าคราบจุลินทรีย์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุของฟันกรามแท้ซี่ที่ 1 ที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ระยะเวลา 60 เดือน
Effectiveness of Dental Sealant’s Retention and Occurrence of Tooth Decay after a 60-Month Period among Students in Primary Schools
This cross-sectional study aimed to study the effectiveness of dental sealant’s retention after a 60-month period, and the relationships between the dental sealant’s retention and the occurrence of dental plaque and tooth decay on the first permanent molars among primary school students in Thailand. Sample was 144 students for a total number of 259 first permanent molars that have had receive a dental sealant’s treatment in the academic year 2006. Research instrumentwas an assessment form regarding the retention of dental sealant, tooth decay and dental plaque. The assessment form was examined for its validit yusing standardization. The reliability was repeatedly tested using standardization by intra-examiner calibration. The Kappa agreement was equal to .97. Data were analyzed using frequency, percentage and chi-square.
The results showed that completeretention of the sealant swas found at a level of only 11.11 %. Whereas, partial worn sealants were 26.11 %, and the totally worn sealants were 62.78 %.The relationship between the retention of sealants and the occurrence of the tooth decay of the sealed first permanent molarafter a 60-month period was statistically significant (= 13.334, p-value= .001). But there was no relationship between dental plaque and an occurrence of tooth decay of the sealed first permanent molar after a 60-month period.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้