สภาพและปัญหาการปฏิบัติของพยาบาลและความต้องการของผู้ป่วย ต่อการจัดการความปวดแผลผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธิวา สมบัติยานุชิต แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลสงขลา
  • ณะดา บิลหยา แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลสงขลา
  • ศิวาภร สังข์แก้ว แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลสงขลา

คำสำคัญ:

การจัดการความปวดแผลผ่าตัด, Surgical Pain Management

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการความปวดแผลผ่าตัด และ2) ศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยในการจัดการความปวดแผลผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลา กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จของเครซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 95 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน และผู้ป่วยหลังผ่าตัดตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 242 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือแบบสอบถามพยาบาลและแบบสอบถามผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
และหาค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า

1. สภาพการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดการความปวดแผลผ่าตัดในโรงพยาบาลสงขลาที่
เหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=2.63, SD=0.28) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด คือด้านการบรรเทาปวดแผลผ่าตัด (M=2.91 ,SD=0.35) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปวดแผลผ่าตัด (M=2.44, SD=0.39) สำหรับปัญหาของพยาบาลในการจัดการความปวดแผลผ่าตัด คือขาดบุคลากรหรือทีมงานที่รับผิดชอบ พยาบาลได้รับการอบรมเรื่องการจัดการความปวดแผลยังไม่ทั่วถึง ภาระงานมาก หอผู้ป่วยยังไม่มีแบบแผนให้ความรู้ ผู้ป่วยยังไม่เข้าใจแบบประเมินความปวด นำแบบประเมินความปวดมาใช้แล้วแต่ไม่ได้รับความร่วมมือ ตลอดจนนโยบายเรื่องการระงับความปวดยังไม่ชัดเจน

2. ปัญหาของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติในการจัดการความปวดแผลผ่าตัด พบว่า ผู้ป่วยไม่ได้รับข้อมูลด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับอาการปวดแผลผ่าตัด เทคนิคการควบคุมอาการปวดแผล ข้อมูลเกี่ยวกับยาและผลข้างเคียงของยาบรรเทาปวดที่อาจจะได้รับหลังผ่าตัด และการไม่ได้รับการประเมินระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังให้ยาบรรเทาปวดหรือหลังการพยาบาล

ดังนั้นหน่วยงานควรมีการเพิ่มพูนความรู้และฝึกทักษะให้พยาบาล ติดตามกำกับให้มีการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการที่กำหนดไว้ต่อไป

 

Surgical Pain Management in Songkhla Hospital: Problems in Nursing Practice, Patient’s Needs

This descriptive research aimed to study the surgical pain management in Songkhla hospital, Southern Thailand: problems in today’s nursing practice, in one hand, and needs of patients, on the other hand. The first sample group was 95 registered nurses working in surgical ward. The sample size of groups was set by using Krejcie& Morgan’s table. Proportional stratified random sampling was used. The second sample group was composed by 242 surgical patients. Purposive sampling was used. Research questionnaire which content validity was confirmed by 5 experts using the Index of Item-Objective Congruence (IOC). The reliability was tested using Cronbach’s alpha coefficients yielding a value of .84. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

The results of the study revealed the following.

1. Overall, the status of appropriate nursing practice among nurses regarding the surgical pain management in Songkhla hospital was at a high level (M = 2.63, SD = 0.28). When considered in each part, the highest mean score of the nursing practice was the surgical pain relief (M=2.91, SD=0.35), while the lowest mean score of the nursing practice was providing knowledge about surgical pain management (M=2.44, SD=0.39). The problems in relation with the surgical pain management reported by the surgical nurses were lack of staff or responsible team and skilled nurses in pain management, over workload, lack of good pattern of giving knowledge, and being unclear of policy in surgical pain management. Furthermore, some patients did not understand the pain assessment form. And some patients did not cooperate in using it.

2. The problem of pain management practices reported by surgical patients was lack of receiving information in various issues such as knowledge about surgical pain, surgical pain control techniques, information about analgesic drugs and their side effects, and lack of assessment of pain level before and after taking medicine or nursing practices.

Therefore, the hospital should promote to increase knowledge and skills among nurses. Furthermore, a proper monitoring of the practice in accordance with the guidelines set to improve quality of service must be done.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-20