ผลของการใช้โปรแกรมลดน้ำหนักโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเองและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการลดน้ำหนักของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ สุขสนาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  • สมศักดิ์ ชอบตรง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • อารยา ปราณประวิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การกำกับตนเอง, แรงสนับสนุนทางสังคม, ภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน, อาสาสมัครสาธารณสุข, Self - Regulation, SocialSupport, Overweight, WeightReductionProgram, Village Health Volunteers

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการกำกับตนเอง และแรงสนับสนุนทางสังคม ในโปรแกรมลดน้ำหนักของอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน ใช้ระยะเวลาในโปรแกรมลดน้ำหนัก 12 สัปดาห์ กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมลดน้ำหนัก กลุ่มควบคุมใช้กิจกรรมตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรผลการทดลองด้วยสถิติ Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนทดลอง 9.57 คะแนน หลังทดลอง 15.27 คะแนน หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

2. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนัก มีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในความสามารถของตนใน
การลดน้ำหนัก ก่อนทดลอง 48.63 คะแนน หลังทดลอง 69.67 คะแนน หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

3. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังต่อผลลัพธ์ในการลดน้ำหนักก่อนทดลอง 49.90 คะแนน หลังทดลอง 69.40 คะแนน หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

4. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวก่อนทดลอง 25.16 คะแนนหลังทดลอง 38.43 คะแนน หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

5. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ก่อนทดลอง 27.35 หลังทดลอง 23.85 หลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004)

6. กลุ่มที่เข้าโปรแกรมลดน้ำหนักมีค่าเฉลี่ยขนาดรอบเอวก่อนทดลอง 87.66 ซม. หลังทดลอง 82.55 ซม. หลังเข้าร่วมโปรแกรมลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01)

 

Effects of a Weight Reduction Program with Application of Self-regulations and Social Support among Village Health Volunteers

This experimental research aimed to study the effects of a weight reduction program with application of the theory of self-regulation and social support on weight lossamongvillagehealthvolunteers (VHV) who wereoverweight livingin HuayYod district, TrangProvince. Sample was60VHV whohad aBMI greater than - orequal - to23, divided intotwogroups: oneexperimentalgroup and onecontrolgroup, eachhaving30 participants. The experimental group received the weight reduction program that lasted for 12 weeks while the control group was continuing its normal activities. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, independent t-test, and paired t-test.

The results revealed that after attending the weight reduction program:

1) the experimental group had higher mean score of knowledge (M=15.27) than before attending the program (M=9.57), the difference of those mean scores being statistically significant (p=0.001);

2) the experimental group had higher mean score of their expected self-efficacy (M=69.67) than before attending the program (M=48.63), the difference of those mean scores being statistically significant (p=0.001);

3) theexperimentalgroup had highermeanscoreofexpected outcomes (M=69.40) than before attending the program (M=49.90), the differenceof those meanscores being statistically significant (p=0.001);

4) the experimental group had higher mean score for their health behaviors (M=38.43) than before attending the program (M=26.16), the difference of those mean scores being statistically significant (p=0.001); and

5) the experimental group had lower mean score of BMI (M=23.85) than before attending the program (M=27.35), the difference of those mean scores being statistically significant (p=0.001).

6) theexperimentalgroup had lowermeanscoreof waistcircumference (M=82.55) than before attending the program (M=87.66). The difference of those mean scores was statistically significant (p=0.001).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-20