ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก กรณีศึกษา: ตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • สุรียา สะมะแอ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • คันธมาทน์ กาญจนภูมิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • เบญฑิรา รัชตพันธนากร โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจ, การรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก, Motivation Teaching Program, Perception of Cervical Cancer

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกของหญิงอายุ 30 - 60 ปี ตำบลกาวะ อำเภอสุไหง-ปาดี จังหวัดนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงอายุ 30 - 60 ปี ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยการสุ่มแบบกลุ่มเพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 2 หมู่บ้านจาก 6 หมู่บ้าน โดยให้หมู่บ้านที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับการสอนแบบสร้างแรงจูงใจ และหมู่บ้านที่สองเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามกิจวัตร และใช้วิธีการคัดเลือกเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดกลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมเน้นการสอนแบบกลุ่มย่อย สาธิตวิธีตรวจ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของแกนนำสตรี 2) แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก การหาความตรงตามเนื้อหาให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความสอดคล้องคุณภาพเครื่องมือเท่ากับ 0.67 ñ 1.00 และหาค่าความสอดคล้องภายในโดยสัมประสิทธิ์ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และสถิติค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกก่อน (M=48.07, SD=14.77) และหลังเข้าร่วมโปรแกรม (M=90.90, SD=14.24) ของกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบสร้างแรงจูงใจมีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=12.643, p< .01)

2. ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกหลังการสอนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบสร้างแรงจูงใจ (M=90.90, SD= 14.24) และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามกิจวัตร(M=86.57, SD=8.02) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=1.453, p< .05)

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การสอนโดยใช้โปรแกรมแบบสร้างแรงจูงใจ ช่วยเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก จึงควรนำโปรแกรมการสอนไปใช้ในการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

The Effects of a Motivation Teaching Program on the Perception of Cervical Cancer: A Case Study in Kawa Sub-District, Su-Ngai-Padi District, Narathiwat Province

The objective of this quasi-experimental research was to study the effects of a motivation teaching program on the perception of cervical cancer among women aged between 30-60, inclusively, living in Kawa Sub-district, Su-ngai-padi, Narathiwat. The sample consisted in 60 women, selected by purposive-sampling from 2 villages. The sample was divided into 2 groups: 1) the control group of 30 women from one village who received the regular teaching program, and 2) the experimental group of 30 women from another village who received the experimental motivation teaching program. The research instruments were: 1) the experimental motivation teaching program, which includes the participation into a small discussion group, media material and model demonstration, and sharing experiences of woman leaders, and 2) a questionnaire on the perception of cervical cancer. Data were analyzed using frequency, percentage, and t-test. The results were as following.

1. The average scores’ difference regarding the perception of cervical cancer in the experimental group between before (M=48.07, SD=14.77), and after (M=90.90, SD= 14.24) the experiment was statistically significant (t=12.643, p < .01).

2. The average scores’ difference regarding the perception of cervical cancer after the experiment between the experimental group (M=90.90, SD= 14.24), and the control group (M=86.57, SD=8.02) was statistically significant (t=1.453, p < .05).

The findings suggest that this motivation teaching program should be applied elsewhere in Thailand, in order to increase the perception of cervical cancer, and promote a screening test.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-20