ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
ต่อการใช้ผลการวิจัยและความพอใจของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์

ผู้แต่ง

  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ฐิติพร อิงคถาวรวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปาริชาติ หนุนพระเดช อดีตพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • สุทิศา เจริญสิน อดีตพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

นักวิจัย, โปรแกรมพัฒนาศักยภาพ, การใช้ผลการวิจัย, ความพอใจ, พยาบาล, Researchers, Potential Development Program, Research Utilization, Satisfaction, Nurse

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยต่อการใช้ผลการวิจัยและความพอใจของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ พยาบาลจากหน่วยงานของฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคใต้จำนวน 100 คน เลือกตัวอย่างแบบสมัครใจ เครื่องมือสำหรับการวิจัยมี 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย และคู่มือวิธีการเลือกใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล มี 5 หน่วยการเรียนรู้ 2) คู่มือตรวจสอบคุณภาพรายงานวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพรายงานวิจัยสำหรับเลือกใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล 3) แบบสอบถามความรู้การใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการก่อนกับหลังเข้าโปรแกรม และ 4) แบบสอบถามความพอใจโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัย ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาความตรงตามเนื้อหาทั้ง 4 ชุดจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย วิเคราะห์ความเที่ยงแบบสอบถามความรู้ด้วยสัมประสิทธิ์ความเที่ยงวิธี KR 21 ได้ค่าเท่ากับ .86 ส่วนแบบสอบถามความพอใจใช้วิธีหาความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติ Paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการบริการสุขภาพร้อยละ 80.0 
ในด้านความรู้การใช้ผลการวิจัย พบว่าเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการนำผลการวิจัยไปใช้หลังเข้ารับโปรแกรม (M=16.34, SD=1.34) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักวิจัย (M=10.76, SD=2.56) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 
กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความพอใจหลังเข้าโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพต่อการใช้ผลการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=3.06, SD=1.06)

 

The Effects of a Researchers’ Potential Development Program on Research Utilization and Satisfaction of Nurses in Regional Hospital

This quasi-experimental research aimed to investigate the effects of a researchers’ potential development program on research utilization (the use of research results) and satisfaction towards the program among nurses working in regional hospitals. The subjects were 100 nurses from different units of the Nursing Section. Four types of research instrument were used: 1) the researchers’ potential development program, 2) a manual of research quality assessment consisting in five learning units on how to select nursing research, 3) a questionnaire regarding knowledge of research utilization (for service quality development), 4) a questionnaire regarding satisfaction towards nurses’ potential development program for research utilization. The quality of the instruments was confirmed for content validity by three experts. The reliability was tested using Cronbach’s alpha and the coefficient of reliability was 0.90. The KR-21 coefficient of reliability was 0.80. General data and satisfaction were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, and paired t-test.

The results of the study revealed that 80 percent of the subjects used research results in order to develop the general quality of health services. Regarding the comparison of the average scores in term of knowledge, it was found that the scores before (M=10.76, SD=2.56) and after (M=16.34, SD=1.34) using the program were significantly different (p<.05). After using the program, the subjects were satisfied with it at a very high level (M=3.06, SD=1.06).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-21