ผลของโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจ ตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี อดิศัยศักดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ณัฐติกา ชูรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อามานี แดมะยุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • จิรสุดา ชินไชยชนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำภู

คำสำคัญ:

การดูแลแบบฮิวแมนนิจูด , การฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจ , วิถีพหุวัฒนธรรม, ความเครียด, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำนี้ เพื่อศึกษาผลของการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ก่อน ระหว่าง และหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย โดยผู้วิจัยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด ได้แก่ การสบตา การพูด การสัมผัส และการจัดท่าในแนวตั้งตรง ร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม ระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้ประเมินได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 2) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม และแบบประเมินการดูแลตามแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม ผ่านการพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ และผลค่าความเชื่อมั่นจากการสังเกตุที่ได้จากการคำนวณ เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณา สถิติการหาค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโปรแกรมลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p-value < .001)

2. ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ดูแลมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลง ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p-value < .001)

ควรอบรมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในเทคนิคการดูแลร่วมกับมีความรู้ในการฝึกสมาธิซึ่งโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุนี้ สามารถช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการให้การดูแลในผู้ดูแลได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

References

Choomkong, U. (2021). The Effect of Diaphragmatic Breathing on Stress and Serum Dehydroepiandrosterone sulfate Level in Healthcare Workers. (Master of science, Anti-aging and Regenerative Medication). College of Integrative Medication, Dhurakij Pundit University. (in Thai)

Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. (2022). Clinical practice guileline: dementia. Bangkok: Neurological Institute of Thailand. (in Thai)

Department of Older Persons. (2024). Health Problems in The Elderly. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)

Erdfelder, E., Faul, F., & Buchner, A. (1996). G*POWER: A General Power Analysis Program. Behavior ResearchMethods. Instruments, & Computers, 28(1), 1-11.

Giang, T. A., Koh, J. E. J., Cheng, L.-J., Tang, Q.-C., Chua, M.-J., Liew, T.-M., et al. (2023). The effects of Humanitude care methodology on older adults with dementia and healthcare professionals in geriatric settings. Journal of Clinical Nursing, 32(1), 120-135. doi.org/10.1111/jocn.16477

Gineste, Y. & Marescotti, J. (2008). Humanitude: Comprendre La Vieillesse, Prendre Soin Deshom Mes Vieux: A. Colin.

Gray, R., Grove, K., & Sutherland, S. (2017). Burns and Grove's the Practice of Nursing Research: Appraisal, Synthesis, and Generation of Evidence. (8th ed.). St. Louis, MO: ELSEVIER.

Ito, M. & Honda, M. (2013). Improvement of behavioral and psychological symptoms of dementia (BPSD) by comprehensive standardized care methodology. Austin Journal of Clinical Neurology, 2(9), 1-2.

Kamthorn, W., Kaewkaen, P., & Wongupparaj, P. (2019). Effect of mindfulness of breathing meditation practice and binaural beats on emotion regulation: Behavioral and EEG studies, Research Methodology & Cognitive Science, 17(2), 19-37. (in Thai)

Lindeza, P., Rodrigues, M., Costa, J., Guerreiro, M. & Rosa, M. (2020). Impact of dementia on informal care: A systematic review of family caregivers’ perceptions. BMJ Supportive & Palliative Care 2024, 14, 38–49. http://orcid.org/0000-0003-3158-2106

Lumsan, S. & Kespichayawattana, J. (2021). The Effect of Promoting Humanitude Care Program on Caregiving Stress of Caregivers in Ban Bang Khae Social Welfare Development Center for Older Persons. (Master of nursing science, Gerontological nursing). Faculty of Nursing, Chulalongkorn University, Bangkok, Pathumwan. (in Thai)

Melo, R., Pereira, C., Fernandes, E., Freitas, N. & Melo, A. (2017). Prevention of skin tears in the dependent older person: Contribution of the humanitude care methodology. Millenium. 2(1), 45-51.

Narathiwat Provincial Public Health Office. (2023). Narathiwat Provincial Health Development Plan 2022-2023. Retrieved October 6, 2024 from http://drp.ntwo.moph.go.th/moph-nwt/. (in Thai)

Puthiwatanatharadol, T. & Kespichayawattana, J. (2018). The Effect of Humanitude Care by Caregiver on Agitation Behaviors of Older People with Dementia. (Master of nursing science, Gerontological nursing). Faculty of Nursing, Chulalongkorn University, Bangkok, Pathumwan. (in Thai)

Sawangchan, L., Malathum P., & Nuchanad, S. (2022). The effect of individualized listening to music on agitated behaviors in older persons with dementia. Ramathibodi Nursing Journal, 28(2), 199-213. (in Thai)

Tanglakmankhong, K., Hampstead, M. B., Ploutz-Snyder, R. J., Potempa, K., Chantarasena, N., Seesing, S., et al. (2020). Development of a cognitive screening process for older adults in community. The Southern College Network Journal of Nursing and Pubic Health, 7(3), 99-114. (in Thai)

Thai Health Promotion Foundation. (2021). Mindfulness of Breathing Meditation. Retrieved September 22, 2024 from https://www.thaihealth.or.th/?p=232573. (in Thai)

Thaveegasikum, Y., Sritarapipat, P., Palmanee, M. & Tathong, B. (2017). Factors related to quality of life among Thai caregivers of the chronic disease patients with dependency in Manorom district, Chainat province. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 24(3), 104–118. (in Thai)

Yangyu, P., Jankam, S., Muangpisan, W., Sirithipakorn, P., Pisansarakit, D., Pangsorn, N., et al., (2017). Problems in care of people with dementia and caregivers' needs. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 16(1), 57-69. (in Thai)

Yongpattanajit, S., MonKong, S., & Sutti, N. (2020). Caregivers’ stress and coping with stress from caring for terminally ill patients in a palliative care unit. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 35(2), 116-131. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-16