ประสบการณ์ชีวิตตามมุมมองโลก 5 ใบ ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษา ด้วยยาเคมีบำบัดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, ยาเคมีบำบัด, สามจังหวัดชายแดนใต้ , ประสบการณ์ชีวิต, โลก 5 ใบบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเฮอร์เมนนิวติกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายของประสบการณ์ชีวิตตามมุมมองโลก 5 ใบ ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 10 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และบันทึกภาคสนามเพื่อให้เกิดการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การมองโลก 5 ใบ ของแวนมาเนนและสร้างความน่าเชื่อถือของงานวิจัยตามเกณฑ์ของลินคอนและกูบา ผลการวิจัย พบว่า
ความหมายของประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สะท้อนความหมายของประสบการณ์ชีวิตตามมุมมองโลก 5 ใบ ดังนี้ โลกของตัวเอง คือ 1) ตั้งสติ เพื่อรอดพ้นจากความตาย 2) เชื่อมั่นต่อความเชื่อ และ 3) ไม่เครียด ไม่กังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด โลกของความสัมพันธ์ คือ 1) มองเห็นคุณค่าผู้ที่อยู่ข้างกาย และ 2) ยาเคมีบำบัดคือเพื่อนที่ช่วยชีวิต โลกของสถานที่ คือ 1) พื้นที่อาศัยเป็นอุปสรรคต่อการรักษา 2) สถานที่ที่ให้ชีวิตใหม่ โลกของเวลา คือ รอเวลาแห่งความสุขกับคนที่รัก และโลกของสิ่งของ คือ 1) โลกดิจิทัล แหล่งข้อมูลส่งเสริมสุขภาพ และ 2) วัตถุมงคลที่เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางให้ผู้บริหารทางการพยาบาล ผู้ปฏิบัติการพยาบาลจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวมอีกทั้งเป็นแนวทางให้ครอบครัวเข้าใจผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเป็นกำลังใจในการสู้ต่อของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดต่อไป
References
American Cancer Society [ACS]. (2024). Cancer Statistics. Retrieved August 15, 2024 from https://acsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.3322/caac.21820.
Baljay, Y., Kerdmakmee, C. (2019). The buddhist perspective on death. Journal of Graduate Studies Review, 15, 15-31. (in Thai)
Chayawuttipong, W. (2018). Guidelines for development a bad news process (diagnosis of cancer) at cancer clinic Udonthani hospital. Udonthani Hospital Medical Journal, 26(3), 93-102. (in Thai)
Gheyasi, F., Baraz, S., Malehi, A. S., Ahmadzadeh, A., Salehi, R., & Vaismoradi, M. (2019). Effect of the walking exercise program on cancer-related fatigue in patients with acute myeloid leukemia undergoing chemotherapy. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention: PJCP, 20(6), 1661.
Inthakhan, N., Thongmee, W., & Praseerake, C. (2021). Development of proactive service processes in end-stage patients by community participation. Journal of Health Science of Thailand, 30(5), 845-853. (in Thai)
Inthaphalan, P., & Suwanpatikorn, K. (2020). Nursing care for colorectal cancer patients undergoing chemotherapy. Thai Red Cross Nursing Journal, 13(2), 98-113. (in Thai)
Jinagub, J., Kespichayawattana, J., & Pudtong, N. (2021). Experiences of patients receiving transplants of donated allogeneic stem cells. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 36(04), 60-79.
Kamsan, W., & Limsakul, M. (2021). Role of social worker in social support for breast cancer patients. Journal of Social Work, 29(1), 29-67. (in Thai)
Kanjanapratum, J., Janda, T., & Patoomwan, A. (2016). Experience of illness by acute leukemia patients undergoing chemotherapy. Thai Cancer Journal, 36(2), 41-50. (in Thai)
Kapucu, S. (2016). Nutritional issues and self-care measures adopted by cancer patients attending a university hospital in Turkey. Asia-Pacific Journal of Oncology Nursing, 3(4), 390-395.
Khawpong, A., & Eamchunprathip, S. (2024). Factors influencing the quality of life of lymphoma patients Surat Thani hospital. Journal of Education Innovation and Research, 8(2), 674-686.
National Cancer Institute Department of Medical Services Ministry of Public Health Thailand. (2020). Hospital-Based Cancer Registry. Medical Record and Databased Cancer Unit, Medical Digital Division National Cancer Institute.
Payne, J. B., Dance, K. V., Farone, M., Phan, A., Ho, C. D., Gutierrez, M., & Flowers, C. R. (2019). Patient and caregiver perceptions of lymphoma care and research opportunities: A qualitative study. Cancer, 125(22), 4096-4104.
Samerchua, W., Nantachaipan, P., & Sittisombut, S. (2019). Good death as perceived by cancer survivors. Nursing Journal, 46(1), 52-64. (in Thai)
Sathaporn, T., Chinvararak, C., & Bunworasate, U. (2021). Quality of life and associated factors of lymphoma patients in hematology clinic at King Chulalongkorn memorial hospital. Chula Med Bull, 3(1), 11-21.
Scheiwiller, A., & Sthapitanonda, P. (2019). Communication process for stem cell donation of Thai Red Cross Society. Journal of Communication Arts, 37(1), 1-19. (in Thai)
Shosha, G. A. (2012). Employment of colaizzi’s strategy in descriptive phenomenology: A
reflection of a researcher. European Scientific Journal, 8(27). Doi: 10.19044/esj.2012. v8n27p%p
Siegel, R. L., Giaquinto, A. N., & Jemal, A. (2024). Cancer statistics, 2024. CA: a cancer journal for clinicians, 74(1), 12–49. doi.org/10.3322/caac.21820
Suntharnon, N., Namvongprom, A., & Pakdevong, N. (2020). Distress and quality of life in patients with advanced cancer undergoing chemotherapy. Songklanagarind Journal of Nursing, 40(1), 58-70. (in Thai)
Wannapornsiri, C., Naewbood, S., Buranachokphaisan, M., Punyakornchayakoo, N., & Sapma, S. (2016). The effect of empowerment program on breast cancer care competency of nurses in Tambon health promoting hospital. Journal of Nursing and Education, 9(2), 93-103. (in Thai)
Wästerlid, T., Murphy, S., Villa, D., & El-Galaly, T. C. (2022). Diffuse large B-cell lymphoma among the elderly: a narrative review of current knowledge and future perspectives. Annals of Lymphoma, 6, 1-21.
World Health Organization. (2024). The Global Cancer Observation. Retrieved August 3, 2024 from https://gco.iarc.who.int/media/globocan/factsheets/populations/764-thailand-fact-sheet.pdf
Yoobang, N. (2022). Outcome and Prognostic Factors in Diffuse Large B-cell Lymphoma Patients in Mahasarakham Hospital. Mahasarakham Hospital Journal, 20(1), 80-96. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้