การพัฒนานวัตกรรม“หุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก”
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, หุ่นฝึกทักษะ, การเจาะเลือดส้นเท้าในทารกบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมนี้เพื่อสร้างและพัฒนานวัตกรรมและศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การเจาะเลือดส้นเท้าในทารกศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนานวัตกรรม ระยะที่ 3 ทดลองใช้นวัตกรรมและพัฒนาหุ่นทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก ขั้นตอนที่ 2 ประเมินประสิทธิผลนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก 2) แบบสอบถามประสิทธิผลได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์เท่ากับ .67 และ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา .77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1. นวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารก 1) ลักษณะภายนอก สร้างนวัตกรรมด้วยน้ำยางพารา และเคลือบด้วยน้ำยางพาราผสมสีอะคริลิกเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำบริเวณ ที่เจาะเติมสารน้ำสีแดง 2) ลักษณะภายใน ลูกบอลยางเป็นที่กักเก็บน้ำในบริเวณส้นเท้าทารก สารน้ำที่ใช้เป็นน้ำเปล่าผสมด้วยสีอะคริลิกสีแดง จำลองการไหลของเลือดที่เจาะส้นเท้าทารก
2. ประสิทธิผลของนวัตกรรมหุ่นฝึกทักษะเจาะเลือดส้นเท้าในทารกโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.72, SD = 0.35) โดยด้านการออกแบบโครงสร้าง ด้านความมั่นใจในตนเอง และด้านความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.63, SD = 0.39; M = 4.65, SD = 0.43 และ M = 4.87, SD = 0.24) ตามลำดับ
ดังนั้นสามารถนำนวัตกรรมไปใช้ในการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นทั้งในภาคทดลองและภาคปฏิบัติเนื่องจากหุ่นนวัตกรรม มีหลักการกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาในการพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกเจาะเลือดส้นเท้าในทารก มีขนาด น้ำหนักเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้สาธิตให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถฝึกปฏิบัติได้ง่าย สะดวกในการนำมาใช้ฝึกปฏิบัติจำลอง และลักษณะรูปร่างเสมือนจริง
References
Chaiwcharn, T., & Papo, A. (2021). The stress of nursing student training. EAU Heritage. Journal of Human Sciences [Online], 9(2), 1217-1228. (in Thai)
Chaiyasang, P., Machompoo, N., Sakulkhaemaruethai, C., Sridet, R., & Nanudorn, A. (2022). Development of an innovative model from natural rubber for practicing suture skills. Journal of Health Science Research, 16(3), 13-25. (in Thai)
Cheychom, S., & Rujiwattanakorn, D. (2015). Using innovative arm puppets in practicing intravenous fluid administration.The veins of nursing students. Ramathibodi Nursing News, 21(3), 395-407. (in Thai)
Chonlatankampanat, W., Suwannarat, K., & Pornngam, K. (2020). The development of a part-changed newborn model innovation to promote self-confidence and nursing practice skills among nursing students. Journal of Phrapokklao Nursing College, 34(1). 1-16. (in Thai)
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2 ed.) Hillsdale. Ni Lawrence Earm Associates.
College of Nursing Boromarajonani Songkhla. (2021). Strategic Plan, Boromarajonani College of Nursing, Songkhla, Fiscal Year 2022-2026. Songkhla: Boromarajonani College of Nursing, Songkhla.
Dil, S., Uzun, M., & Aykanat, B. (2012). Innovation in nursing education. Journal of Human Sciences, 9(2), 1217–1228.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power. analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.
Henkaew, W., Thongsawat, T., & Yotkat, P. (2018). Development of DeeTorJai Model for chest compression training among nursing students. Nursing Journal, 45(4), 171-180. (in Thai)
Machara , C., Busamongkol, P., Mokharat, P., & Paidee, S. (2019). Development of an Innovative Training Dummy for Injecting Drugs into the Thigh Muscles and Drawing Blood at the Heel of Newborn Infants. Happen Toward the Satisfaction of Nursing Students. In the documents of the national academic conference and presentation of research results. Rajathani Academic Conference No. 4 “Research for Sustainable Development” (pp. 801– 809). (in Thai)
Nontaput, T.& Chotiban, P. (2021). Intravenous venipuncture: New development in training on arm manikin. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 49-60. (in Thai)
Padmore, T., Schuetze, H., & Gibson, H. (1998). Modeling systems of innovtion: An enterprise – centered view. Research Policy, 26(6), 605-624.
Praboromarajchanok Institute Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2021). Strategic plan of Praboromarajchanok Institute Specialized Higher Education Institutions under the Ministry of Public Health Fiscal Year 2020-2024. Nonthaburi: Praboromarajchanok Institute Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (in Thai)
Rompipat, S. (2020). Developing a model for intradermal injection and its effect upon performance skills and satisfaction levels of third-year nursing students. Journal of Science and Technology (Science Technology), 29(4), 688-700. (in Thai)
Sinsawad, P., & ChewongJoumal, P. (2022). Innovative development of assisted model for suction skill. Joumal of The Royal Thal Ammy Nurses. 23(3), 409-410. (in Thai)
Sivapitak, S., (2020). Innovation theory. Saint John’s Journal, 23(1), 251-265 (in Thai)
Tang, H. K. (1999). An integrative model of innovation in organisations. Technovation, 19(1), 41-51.
Tansiri, P., Prasertwong, S., Kathikarn, R., Traipak, C., & Insakol, C. (2018). The Effectiveness of The Teaching Techniques of Injection by Using A Newly Produced Models. Kanchanaburi: Faculty of Nursing Western University. Retrieved July 12, 2023 from https://www.western.ac.th/pages/nsk-portfolio-teacher-s-workdf. (in Thai)
Wangruangsatid, R., Thongrat, Y., Wanchai, A., & Rangsiyanon, J. (2017). Perceived neonatal critical care nurse practitioner competencies of trainees completing the neonatal critical care nurse practitioner program. Journal of Nursing and Health Care, 35(4), 185-193. (in Thai)
Yimyaem, S. (2016). Developing stimulation model for to training clinical skill of Health sciences students. Nursing Journal, 43(2), 142 – 151. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้