ประสิทธิผลทางคลินิกของการใช้ยาพอกเข่าสมุนไพรร่วมกับโปรแกรมการนวดรักษาเข่าในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้แต่ง

  • ริศรา จีนาพงษ์ คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จุฬาลักษณ์ โชคไพศาล คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, โปรแกรมการรักษาข้อเข่า, ยาพอกเข่าสมุนไพร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงการทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรักษาด้วยยาพอกเข่าสมุนไพรร่วมกับโปรแกรมการนวดรักษาต่ออาการปวด อาการข้อฝืด การใช้งานของข้อ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างความถี่ของการรักษาด้วยยาพอกเข่าสมุนไพรร่วมกับโปรแกรมการนวดรักษาเข่า กลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการในคลินิกการแพทย์แผนไทยฯ โรงพยาบาลสงขลา ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรคลมจับโปงแห้งเข่าอายุ 45 ปีขึ้นไป 45 คน กลุ่มละ 15 คน คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 เก็บข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมิน WOMAC ฉบับภาษาไทย และแบบสอบถาม SF-36 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา, Kruskal-Wallis Test, One-way ANOVA Test, Wilcoxon Matched–Pair Signed-Rank Test, Repeated-Measure ANOVA ผลวิจัยพบว่า

1. ผลต่างคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับโปรแกรมการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมทั้ง 3 กลุ่มสามารถลดอาการปวด และอาการข้อฝืด เพิ่มการใช้งานของข้อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุม มิติด้านร่างกาย มิติความเจ็บปวด มิติด้านสุขภาพโดยรวม กลุ่มทดลองที่ 2 ในมิติด้านร่างกาย มิติด้านสุขภาพโดยรวม มิติด้านข้อจำกัดทางจิตใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ส่วนกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ได้มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น  (p-value > .05)

2. ความถี่ของการรักษาเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา คู่ที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value < .05) ในอาการปวดลดลง กลุ่มควบคุมใน 14 วัน กลุ่มทดลองที่ 1 21 วัน และกลุ่มทดลองที่ 2 7 วัน อาการข้อฝืดดีขึ้นโดยทั้ง 3 กลุ่ม 28 วัน การใช้งานของข้อเพิ่มขึ้นในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ 2 14 วัน และกลุ่มทดลองที่ 1 28 วัน

โปรแกรมในกลุ่มทดลองที่ 2 เป็นวิธีรักษาหนึ่งที่ให้ประสิทธิผลลดอาการปวดเร็วสุดซึ่งจะเกิดประโยชน์มากสุดต่อผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในวิจัยครั้งนี้

References

Aksaranukroh, S. (2000). Modified WOMAC scale for knee pain. Journal of Thai Rehabilitation Medicine, 9(3), 82-85. (in Thai)

Boonmag, S. (2020). The result of Thai massage in patients with knee pain and stiffness in Thai traditional medicine clinic, Luangphorpern hospital, Nakhonpathom. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(3), 518-532.

Charoencholvanich, K. & Pongcharoen, B. (2005). Oxford knee score and SF-36: translation & reliability for use with total knee arthroscopy patients in Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand, 88(9), 1194-1202.

Chen, Y., Liu, j., Li, X., Tang, D., Jin, X., Zhang, Z., et al. (2022). Effects of golden plaster on knee osteoarthritis: A multicenter randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 7(1), 41-54.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2016). Clinical Practice Guideline Thai traditional medicine and alternative medicine. Samchareon phanich CO., LTD. (in Thai)

Leurmarnkul, W. & Meetam, P. (2005). Properties Testing of the Retranslated SF-36 (Thai Version). Thai Journal of Pharmaceutical Sciences, 29(1-2), 69-88. (in Thai)

Medical Record Songkhla Hospital. (2024). Medical Record Report, Songkhla Hospital. (in Thai)

Melzack, R., & Wall, PD. (1965). Pain mechanisms: A new theory. In Science, 15, 971- 979.

National Statistical Office. (2022). The 2021 Survey of The Older Persons in Thailand. National Statistical Office. (in Thai)

Phomtaensut, P. (2016). Effectiveness of a Pain Management and Environmental Adjustment Program for Elderly with Knee Osteoarthritis. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Nursing Science in Community Health Nurse Practitioner School of Nursing, Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Pongkildlarb, P. (2022). Effective of relieve knee pain used Thai royal massage combined with hot-compressed herbal ball and herbal knee poultice in knee pain patients or osteoarthritis, Si Prachan district, Suphanburi province. Journal of Boromarjonani College of Nursing, Suphanburi, 5(2), 32-46. (in Thai)

Rattanaporn, P. & Kuncharin, C. (2019). Effectiveness of Herbal Poultice Formula of Phormhorboonthong Butthamma in Elderly Patients with Knee Pain [dissertation]. Rangsit University. (in Thai)

Sornkaew, A., Thongbunjob, K. & Tooprakai, D. (2020). The efficacy of Thai traditional medicine on knee osteoarthritis in patients with primary knee osteoarthritis. Journal of Health Sciences Scholarship, 7(1), 41-54. (in Thai)

Tantiborrirux, W., Moonrat, T., & Thankanjanatorn, S. (2023). Pain relief efficacy of the herbal poultice together with four postured of Rue Si Dud Ton in patients with knee pain or knee osteoarthritis at Sop Prap hospital, Lampang province. Journal of Health Science, 32(4), 636-644. (in Thai)

Thitikulpattanawadee, S., Kanjanasit, W., & Saidpattarapol, P. (2018). Nurse practitioner’s role to reduce osteoarthritis pain in patient’s with knee osteoarthritis by using the thigh muscle exercise program. Christian University of Thailand Journal, 24(4), 636-646. (in Thai)

TTM Ayurveda College foundation. (2012). Thai Traditional Massage (Royal Court Massage). Pickanes Printing Centre CO., LTD. (in Thai)

Udompittayason, J., Sayorwan, W., Khotwong, V., Kaewwiset, N., & Siramaneerat, I. (2019). Comparative study of the effectiveness of knee formula 1 and knee formula 2 for knee pain and range of motion of knee joint in patients with osteoarthitis Bang Yai hospital, Bang Yai, Nonthaburi. Princess of Naradhiwas University Journal, 11, 64-72. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-04