รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • วัชรพันธ์ วงศ์คำพันธ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • กาญจนา ศรีสวัสดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สังวรณ์ งัดกระโทก สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

สมรรถนะการวิจัย, ผู้บริหารทางการพยาบาล, รูปแบบการพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบและศึกษาผลของการใช้รูปแบบ         การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย จากข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม 9 คน และสำหรับใช้รูปแบบ 30 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) ประเด็นแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับวิจัย ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และได้ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัย มีค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .86 และแบบประเมินสมรรถนะการวิจัยด้านทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับการวิจัย มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านทัศนคติเกี่ยวกับการวิจัย 2) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย การกำหนดโจทย์การวิจัย และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย 4) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย 5) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล และ 6) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์

2. หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย พบว่าผู้บริหารทางการพยาบาล มีสมรรถนะการวิจัยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001

ดังนั้น องค์กรพยาบาลสามารถนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยไปขยายและต่อยอด ประยุกต์การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้บริหารการพยาบาลมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ  ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยต่อไป

References

Arayaphiphat, N. (2015). Development of Nursing Research and Development Skills Competency of Professional Nurses Khonkaen Drug Treatment Center. Retrieved April 22, 2023 from https://www.kkdtc.go.th/center/images/fbfiles/fUes/r4.pdf. (in Thai)

Chase, L. K. (2015). Nurse Managers Competencies. (Doctoral dissertation), University of Iowa. Retrieved January 10, 2023 from http://ir.uiowa.edu/etd/2681.

Deming, M. (2004). Plan Do Check Act (PDCA). Retrieved April 22, 2023 from http://www.mycoted.com /creativity/techniques/pdca.php.

Huagang, H. (2019). research capacity and research training needs of clinical nurses in Suzhou, China. The Journal of Continuing Education in Nursing, 50(9), 423-432.

Jirakangwan, M. (2013). Effects of the development competency research for registered nurses. Medical Journal of Sisaket Surin Burirum Hospital 28(2), 121–129. (in Thai)

Kajermo, K. (2014). Psychometric evaluation of a questionnaire and primary healthcare nurses' attitudes towards research and use of research findings. Scandinavian Journal of Caring Sciences, 28(1), 173-185.

Kongnoo, K. (2020). People’s quality of life concerning medical and public health services under the ranger’s special force unit 47 Sparoh village, Yaha district, Yala province. Pathumthani University Academic Journal, 12(2), 317-332. (in Thai)

Laobanthao, M. (2017). The development of head nurse’s competency scale, Surin Hospital. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 30(3), 130-140. (in Thai)

Nurses Service Organization Detudom CrownPrince Hospital. (2022). A Research Competency of Nursing Administrators, Detudom Crownprince Hospital. Ubonratchathani: Detudom CrownPrince Hospital. (in Thai)

Nursing Division. (2021). Nursing Council policy regarding manpower in the nursing team. Retrieved April 22, 2023 from https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/003(1).pdf

Punnue, I. (2017). The research competencies of professional nurses in community hospital. The degree of master of nursing science in nursing administration. School of Nursing Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi. (in Thai)

Singchungchai, P. (2019). Innovative leadership in nursing management. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 260-267. (in Thai)

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2020). Roles and Duties of Professional Nurses. Publishing of Suetawan printing. Bangkok. (in Thai)

Urwongse, W. (2019). Focus group discussion: effective qualitative data collection technique. STOU Educational Journal, 12(1), 17-30. (in Thai)

Wenhui, J., Yuan, Y., Lanfang, Z. (2019). Self-Efficacy and research capacity of clinical nurses in China. The Journal of Continuing Education in Nursing, 50(11), 509–516.

Wiranan, W. (2012). Factors Influencing Research Competency among Public Health Nurses in Central Region of Thailand. The degree of Master of Nursing Science in Nursing Administration. School of Nursing Sukhothai Thammathirat Open University. Nonthaburi. (in Thai)

Xue, W. A. & Xinjuan, W. (2019). Research-training needs of clinical nurses: A nationwide study among tertiary hospitals in China. International Journal of Nursing Sciences. 6(3), 300-308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-07