ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จีรนุช สมโชค ไวท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สถานการณ์โควิด-19, ความรุนแรงในครอบครัว, ภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

   การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงของครอบครัววัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อายุระหว่าง 13-18 ปี ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (CVI) เท่ากับ .98 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงในครอบครัวในสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ .71 และแบบสอบถามรูปแบบความรุนแรงในครอบครัวเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า

   1. กลุ่มตัวอย่างมีการรายงานการใช้ความรุนแรงในครอบครัวภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (M=1.72, SD=0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการใช้ความรุนแรงด้านจิตใจมากที่สุด (M=2.55, SD=1.05)

   2. ปัจจัยด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19 ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =-.695, p-value <.01) ด้านสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =-.212, p-value <.01) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ การทำหน้าที่ของครอบครัว (Beta = -.695) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 47.80 (adj.R2 = .478, p-value <.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

   บุคลากรทางสุขภาพที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กวัยรุ่นและครอบครัว  ควรเฝ้าระวังเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและมีการประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัวก่อนออกแบบการป้องกัน หรือลดความรุนแรงในครอบครัวของเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและสภาพแวดล้อมไม่ดี

References

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.

Bronfenbrenner, U. (2005). Making Human Beings Human: Bioecological Perspectives on Human Development. Thousand Oaks, California: Sage.

Chaffin, M., Silovsky, J. F., Funderburk, B., Valle, L. A., Brestan, E. V., Balachova, et al. (2004). Parent-Child Interaction Therapy with Physically Abusive Parents: Efficacy for Reducing Future abuse Reports. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 72: 500-510.

Child Welfare Information Gateway. (2013). Definitions of Domestic Violence. Washington, DC: U.S. Department of Health and Human Services, Children’s Bureau.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Department of Disease Control: Division of Communicable Diseases. (2023). Guidelines for Monitoring and Control Covid-19 for Medical and Public Health Personnel. Retrieved March 29, 2023 from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/11509202106 10033910.pdf. (in Thai).

Department of Health. (2021). Summary of Global Statistics Reports of COVID-19. Retrieved July 25, 2021 from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ situation.php. (in Thai).

Doungsuwan, N., Kaewkabthong, H., Thankan,W., Saesa, N. & Jehtae, H. (2022). Children and Domestic Violence. Journal of Social Work, 30(1), 178-216.

Hair, F.J., Black, C.W., Babin, J.B, & Anderson, E.R. (2019). Multivariate Data Analysis 7th ed. New Jersey: Pearson Education.

Ministry of Social Development and Human Security. (2013). The Results of the Survey on the Situation of Violence in 76 Provinces in 2013. Retrieved October 5, 2017, from https:// www.m-society.go.th/article_attach/11400/15717.pdf. (in Thai)

National Statistical Office. (2021). 8 Statistics of household income and expenses. Retrieved October 25, 2021 from http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx. (in Thai).

Office of the National Human Rights Commission of Thailand. (2020). Family violence is a silent threat in the crisis of COVID-19. Perspectives on rights, 19(4), 1-8. Retrieved July 15, 2022 from http://www.nhrc.or.th/getattachment/774d6a06-4348-414b-ba9c-f03b984aa4e2/.aspx.

Office of the Permanent Secretary for Ministry of Social Development and Human Security. (2015). Network Operations Manual for Surveillance and Warning of the Risk of Domestic Violence. Bangkok: Department of Social Development and Welfare. (in Thai).

Polit, D. E. & Beck, C. T. (2004). Nursing Research: Principles and Methods. 7th Edition, Lippincott Williams & Young, Philadelphia.

Royal Thai Government Gazette. (2007). The Act on the Protection of Victims of Domestic Violence. Retrieved January 3, 2017, from www.thailawforum.com › Thailand Laws Database. (in Thai)

Sanitlou, N., Sartphet, W. & Naphaarrak, Y. (2019). Sample Size Calculation Using G*Power Program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 5(1), 496-507. (in Thai).

Sanprasit, Y., Boonprakob, P., Kongsakon, R. & Intarakamhang, U. (2011). Domestic Violence Prevention Model with Participatory Action of Families and Community: A Case Study of a Community in Pathumthani Province. Journal of Behavioral Science, 17(2), 19-36. (in Thai).

Senglem, A., Nintachan, P. & Piaseu, N. (2011). A synthesis of research on factors related to Domestic violence among women in Thai society. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 25(3), 38-55. (in Thai).

Wacharasin, C., Sriprasan C., Chivanon, N. & Khamngoen, R. (2020). Factors Related to Violence in Families with School Age Children. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 5(2), 189-200. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-03