ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฝากครรภ์ต่อการรับรู้และ ความตั้งใจการมาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การฝากครรภ์, หญิงวัยเจริญพันธุ์, การรับรู้ , ความตั้งใจบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาถึงผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฝากครรภ์ต่อการรับรู้และความตั้งใจการมาฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในเขตตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี โดยใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพของ Becker กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้างานวิจัย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมฯ 5 สัปดาห์ โดยมีคนต้นแบบหญิงวัยเจริญพันธุ์ในชุมชน อสม.เข้ามามีส่วนร่วม และใช้การติดตามกลุ่มทดลองทางกลุ่มไลน์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test, Wilcoxon Signed Ranks Test, Independent t-test และ Mann Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
2.คะแนนเฉลี่ยความตั้งใจต่อการมาฝากครรภ์เร็วเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนทดลองและเพิ่มสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าคะแนนความตั้งใจไม่แตกต่างกัน
แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการส่งเสริมการมาฝากครรภ์ ทำให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีการรับรู้ต่อการมาครรภ์เร็วขึ้น แต่ไม่สามารถเพิ่มความตั้งใจต่อการมาฝากครรภ์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมฯ ไปใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนที่สนใจ ตลอดจนผู้ที่มารับบริการคลินิกวางแผนครอบครัวทั้งในโรงพยาบาลและ รพ.สต. และให้มีการดำเนินกิจกรรมประเมินหรือติดตามด้วยการใช้สื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
References
Becker, M. H. & Maiman, L. A. (1990). Theoretical Model of Adherence and Strategies. In S.A. Shumaker, E. B. Schron, and J. K. Ockene (Eds.). The Handbook of Health Behaviors Change. (pp. 5–37). New York: Springer Publishing.
Buala, O. & Nuntaboot, K. (2020). Potentials of community in community-based health promotion for pregnant woman. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 28(2), 16-26. (in Thai)
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Jaimon, J., Punyasit, P., Nitirat, P., Jarujit, S, & Weerawattthanodom, N. (2020). Effects of an ante-natal care (anc) promotion program on awareness and intention to seek anc during the first trimester among reproductive aged women in Laemsing District, Chanthaburi. Journal of Health and Nursing Education, 26(2), 66-81. (in Thai)
Jirawatkut, A. (2004). Biostatistics for Occupational Health and Safety. Khonkaen: Klungnana. (in Thai)
Jirawatkut, A. (2015). Statistics for Health Science Research. (4th ed.) Bangkok: Wittapat. (in Thai)
Kaewpoung, S., Deoisres, W. & Suppaseemanont, W. (2018). Influencing of perception of pregnancy risk, knowledge, and attitude on preconception health behaviors among pregnant women. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(2), 57-66. (in Thai)
Klinman, S. & Rujirudtirakul, T. (2021). Development of model and process in maternal and child health among village health volunteers in Nakhon Sawan Province. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 36(15), 115-128. (in Thai)
Naka, S., Tapruxs, S. & Koktatong, U. (2019). Study on the late antenatal care pregnant women in public heath. Chophayom Journal, 30(1), 59-69. (in Thai)
Nakkrasae, K., Lapvongwttana, P. & Chansatiporn, N. (2019). Effects of health promotion program on health promoting behaviors in Primigravida Teen. Journal of Public Health Nursing, 33(1), 40-45. (in Thai)
Noitung, S., Lapvongwatana, P. & Chansatitporn, N. (2018) Effects of the health belief model program for breast cancer prevention among female high school students in the Bangkok Metropolitan Area. Thai Red Cross Nursing Journal, 11(2), 76-99. (in Thai)
Phaksuknithiwa, T. (2019). Effect of belief modification program on antenatal care visit behaviors in pregnant women, Buriram province. Journal of Public Health Nursing, 33(3), 15-28. (in Thai)
Pota, T., Srisuriyawet, R. & Homsin, P. (2019). Determinants of late start of antenatal care among pregnant teenager in community. Journal of Nursing and Health Care, 37(2), 181-189. (in Thai)
Sukhvibul, T. (2009). Considerations in the Construction of Rating Scale Tools for Research Purposes. Retrieved September 1, 2022 from http://www.ms.src.ku.ac.th. (in Thai)
Surinsup, S. (2016). Factors Related to Delay Antenatal Care in Tawanchingpob, Muang District, Lamphun Province. An Independent Study in Partial Fulfillment of The Requirements for The Degree of Master of Public Health, Thammasat University. (in Thai)
Tongnuang, P. (2019). Factors predicting intention to practice for preventing hypertension in adults. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 30(2), 49-65. (in Thai)
Udonthani Provincial Health Office. (2022). Udonthani Model Classifying Pregnancy 2022. Udonthani: Udonthani Provincial Health Office. (in Thai)
World Health Organization [WHO]. (2017). WHO Recommendations on Antenatal Care for a Positive Pregnancy Experience. Retrieved September 1, 2021 from https://apps.who.int/iris/ bitstream/handle/10665/ 250796/9789241549912-eng.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้