ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสุขภาพจิตที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อิทธิศักดิ์ เจริญทรัพย์ โรงพยาบาลบุณฑริก
  • นวรัตน์ สิงห์คำ โรงพยาบาลบุณฑริก

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้, คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด ภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสุขภาพจิตที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 207 คน กำหนดขนาดกลุ่มอย่างโดยใช้โปรแกรม G* Power Analysis เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียด และแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า โดยแบบประเมินความเครียด ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติก ผลวิจัยพบว่า

1. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานีส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 59.42 รองลงมาคืออยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 35.75 และมีภาวะซึมเศร้าเพียงร้อยละ 5.46

2. ผู้ป่วยเบาหวานเพศหญิง(ORadj=2.49, 95%CI: 1.25-4.96) ผู้ป่วยเบาหวานที่อายุน้อยกว่า 60 ปี (ORadj=2.28, 95%CI: 1.17-4.86) ผู้ป่วยที่สาเหตุของความวิตกกังวลมาจากเรื่องการเจ็บป่วย (ORadj=5.20, 95%CI: 49-16.88) และผู้ป่วยที่ได้สิทธิพื้นฐาน (ORadj=2.58, 95%CI: 1.07-6.24) มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 สำหรับตัวแปร ระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวาน ประวัติการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ค่าใช้จ่ายในการติดตามการรักษา การมีผู้ดูแล ความเครียด และภาวะซึมเศร้า ไม่มีความสัมพันธ์

ดังนั้น จึงควรออกแบบระบบการดูแลผู้ป่วยที่เฉพาะเจาะจงรายกลุ่มซึ่งมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ควรมีการค้นหาปัญหาหรือปัจจัยที่มีผลต่อการควบุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยเบาหวานรายกรณี และควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพฤติกรรมสุขภาพต่อการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด  

References

Becker, M. H. & Maiman, L. A. (1997). A New Approach to Explaining Sick Role Behavior in Low Income Population. American of Public Health, 3, 330-336.

Department of Disease Control. (2019). Non-Communicable Disease Situation Report. Retrieved September 20, 2022 from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1035820201005073556.pdf. (in Thai)

Doloh, S. & Saleh, N. (2019). Factors Affecting the Inability to Control Water Levels Blood Sugar Levels of Type 2 Diabetic Patients in Bannang Sata District, Yala Province, TUH Journal online, 4(3), 27-30.

Kaewsuk, S. (2020). Proportion and Associated Factors of Poor Glycemic Control among Type 2 Diabetes Mellitus Patients in a Primary Care Cluster, Nakorn-Nont 1. PCFM, 3(3), 59-72. (in Thai)

Kanglee, K. (2014). Factors Associated With Glycemic Control Among People With Type 2 Diabetes Mellitus at Phramongkutklao Hospital, Bangkok Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 256-268. (in Thai)

Phaitrakoon, J., Rassameepong, S., Phansawat, K., Pimtakrong, S., Norapan, B., Siriviriyapat, P., et al. (2019). Factors Correlated with Stress of Patients with Diabetes Mellitus Type 2 in Princess Maha Chakri Sirindhorn Medical Center, Ongkharak, Nakhonnayok Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 29(1), 21-31. (in Thai)

Phajan, T., Suwannaphant, K., Anarat, B. & Thalakorn, N. (2022). Factors Associated with Glycemic Control among Type 2 Diabetes MellitusPatients in Thabo, Nong Khai, Thailand. Regional Health Promotion Center 9, 16(1), 285-298. (in Thai)

Pirom, M. (2022). Association of Stress and Depression with Controlling Blood Sugar Among Diabetes Mellitus Type 2 Patients at Samakkee Primary Health Care Center, Mahasarakham Province. Mahasarakham Hospital Journal, 19(3), 125-136. (in Thai)

Punarriwatana, D. (2018). Factors Associated with Poor Glycemic Control Among Type 2 Diabetic Patients in Bang Phae Hospital, Ratchaburi Province. Region 4-5 Medical Journal, 37(4), 294-305. (in Thai)

Suwattanakul, T. (2018). Factors Related to Blood Sugar Control among Diabetes Mellitus Type 2 Patients. Journal of Health Systems Research, 12(3), 515-522.

Tongprong, P. (2018). Factors Associated with Glycemic Control Among People with Type 2 Diabetes Mellitus in Sub-district, Ubon Ratchathani, Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences, 2(4), 9-22. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01