ผลของรูปแบบนิเทศทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลทุ่งสง

ผู้แต่ง

  • ปริศนา มณีฉาย สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เรณุการ์ ทองคำรอด สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การป้องกันแผลกดทับ, การนิเทศทางการพยาบาล, พฤติกรรมการนิเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารทางการพยาบาลและสมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลวิชาชีพระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล ได้แก่ หัวหน้าและรองหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและ 2) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพผู้ปฏิบัติ จำนวน 52 คน จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบนิเทศทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับที่ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศทางการพยาบาลและแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบสอบถามพฤติกรรมการนิเทศของผู้บริหารทางการพยาบาล และแบบสอบถามสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ แบบสอบถามทั้งสองชุดได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค เท่ากับ .98 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที และสถิติวิลคอกซันซายแรงค์ ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้บริหารทางการพยาบาลมีพฤติกรรมการนิเทศหลังการใช้รูปแบบนิเทศทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

2. สมรรถนะในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับดีและสมรรถนะในการป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลวิชาชีพหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นดีกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ควรนำรูปแบบนิเทศทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับไปใช้อย่างต่อเนื่อง มีการติดตามทุก 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี และควรมีการนำไปรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลไปปรับใช้กับการพยาบาลผู้ป่วย

 

Author Biography

ปริศนา มณีฉาย, สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

-

References

Best, J. W. (1997). Research in Education 3rd ed. Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall.

European Pressure Ulcer Advisory Panel, National Pressure Injury Advisory Panel, Pan Pacific Pressure Injury Alliance. (2019). Prevention and Treatment of Pressure Ulcers/Injuries: Quick Reference Guide. Retrieved November 20, 2023 from https://internationalguideline.com/

Jiamtanopachai, R., & Sanveingchan, S. (2018). Nursing practice guidelines for the prevention of pressure ulcers. Thai journal of Nursing, 67(4), 53-61. (in Thai)

Kamparksorn, N., & Wiwatvanit, S. (2016). Effects of clinical supervision program on pressure ulcer and nurses’satisfaction toward supervision. Journal of Nursing Division, 43(3), 44-55. (in Thai)

Pattanakeaw, B. (2021). The effects of empowerment program on prevention of pressure ulcers with a caregiver’orthopedics patients who are restricted to physical activities at Orthopedic Wards Maharai Nakhon Si Thammarat Hospital. Maharai Nakhon Si Thammarat Journal, 4(2), 53-62. (in Thai)

Pheetarakorn, P. (2021). Nursing care of the patients with pressure injury: Nurse’s Role. Hua Hin Medical Journal, 1(1), 1-16. (in Thai)

Proctor, B. (2001). Training for the Supervision Alliance Attitude, Skills and Intention. In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Rout ledge.

Sapyen, K., Jaturongkachock, K., & Tantiwarasakool, K. (2019). The development of clinical nursing supervision model for prevention of pressure injury in Banpong Hospital. Region 4-5 Medical Journal, 38(4), 300-315. (in Thai)

Supunpayop, P.,Sukadisai, P., & Amphon, K. (2013). Development of nursing supervision model Nursing Division King Prapokklao Hospital. Journal of Nursing and Education, 6(1), 12-26. (in Thai)

Tana, P., Sangumpai, K., & Trakulsithichoke, S. (2017). Effects of clinical supervision on the application of nursing process in caring of diabetic patients and nurses satisfaction. Journal of Nursing and Health care, 35(4), 52-60. (in Thai)

Tangwongkit, T., Kerdmuang, S., Chaiyasak, M., Weerawatthanodom, N., & Pungpotong, S. (2020). Effects of participatory nursing supervision program on the quality of supervision of head nurses in general hospital, chainat province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 30(2), 190-199. (in Thai)

Tantiveas, M., Khumyu, A., & Otakanon, P. (2017). The develoment of nursing supervisory model for unofficial-time nursing supervisors, prest’ hospital. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(3), 41-51. (in Thai)

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2019). Nursing and Midwifery Standard. Retrieved March 10, 2021 from https://www.tnmc.or.th/ (in Thai)

Usahapiriyakul, S., Changmai, S., & Leehalakul, V. (2019). The effects of caring program on caregiver’s operational capabilities of pressure ulcer prevention in dependent older patient at risk group. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(4), 21-30. (in Thai)

Vuttanon, N., Kunaviktikul, W., Srisuphun, W., & Chairat, A. (2011). Professional competency dictionary development for nurses in pressure ulcer prevention. Thai Journal of Nursing Council, 26(1), 94-108. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-10