ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • จันทราวรรณ แก้วดุก องค์การบริหารส่วนตำบลหานโพธิ์
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ, สมรรถนะผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และปฏิบัติงานในจังหวัดพัทลุง จำนวน 278 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายข้อ อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 แบบสอบถามความรู้มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR20) เท่ากับ 0.72 แบบสอบถามด้านทัศคติ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านองค์กรและสังคม และสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของคอนบาคของเท่ากับ 0.75 0.89 0.88 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดพัทลุงภาพรวมอยู่ในระดับสูง (M=4.26, SD=0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะหลัก (M=4.38, SD=0.51) สมรรถนะการจัดการ (M=4.15, SD=0.55) และสมรรถนะหน้าที่ (M=4.23, SD=0.56) อยู่ในระดับสูง

2. ปัจจัยระดับความรู้ (ORadj=2.36, 95%CI: 15-4.86) การสนับสนุนจากครอบครัว (ORadj=2.06, 95%CI: 1.11-3.80) และการสนับสนุนจากองค์กรและสังคม (ORadj=3.37, 95%CI: 1.82-6.25) มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดพัทลุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ดังนั้น จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการสนับสนุนให้ครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตลอดจนภาคองค์กรและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Best, J. W. & Kahn, J. V. (1998). Research in Education, Eight Editions. Singapore: Allyn and Bacon

Bokaew, S. (2020). Factors associated with caregivers' skills in caring for the older adult in Sukhothai Province. Journal of Public Health Naresuan University, 2(2), 14-25. (in Thai)

Bureau of Registration Administration. (2022). Population Statistics From the Civil Registration (Monthly). Retrieved June 14, 2022 from https://stat.bora.dopa.go.th/stst/statnew/statMONTH/statmonth.

Department of Provincial Administration. (2022). Data Statistics Service. Retrieved June 9, 2022 from http://stat.bora.dopa.go.th./new_stat/webPage/statByAgeMonth.php.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2021). Situation of the Thai Elderly 2020. Nakhonpathom: Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (in Thai)

Kaewbamroog, A. (2019). Caregiver’s Performance Practicing of Rehabilitation Health Care for Elderly Dependents at Phuket Province. Journal of Health Science and Community Public Health, 2(2), 13-15. (in Thai)

Kumsom, C., Lagampan, S. & Boonyamalik, P. (2019). Factors Influencing Caring Practices for Dependent Older Adults in the Long-Term Care System: Roi Et Province. Thai Red Cross Nursing Journal, 12(2), 193-207. (in Thai)

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence rather than Intelligence. American Psychologist Journal, 1-14.

McLeroy, K., Daniel, B., Steckler, A. & Glanz, K. (1988). An ecological perspective on health promotion programs. Health Education Quarterly, 15(4), 351-377.

Muenhor, C. & Poonpol, S. (2016). Factors Associated with the Caregivers, Role in Caring for The Elderly in Nakhon Phanom Province. Nakhon Phanom University Journa, 6(1), 79-86. (in Thai)

Nampan, J. (2020). Factors Influencing Job Performance Among Trained Caregivers for Caring Dependent Elderly in Bangkok. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 28(3), 41-52. (in Thai)

National Health Security office. (2022). Long Term Care: LTC. Retrieved June 14, 2022 from https://ltc.nhso.go.th/.

Sawatphol, C. (2016). Care for Elderly Dependents in the Northeast of Thailand. Journal of MCU Peace Studies Special Issue, 5(Special), 387-405. (in Thai)

Senchum, W. (2011). Factor Predicting Role of Family’s Member in Providing Care and Health Promotion for the Elderly in Thumbon Phawor Maesot District, Tak Province. Journal of Nursing and Health Sciences, 5(2), 23-33. (in Thai)

Sontichai, A., Boonsu, T. & Krongyuth, P. (2020). Essential Competency for Elderly Care Worker: Case Study in Ubon Ratchathani Province. Journal of Council of Community Public Health, 2(2), 37-48. (in Thai)

Turnbull, N. (2019). Factors Associated with Elderly Care from Caregivers in Chuen Chom District, Mahasarakham Province, Thailand. Journal of the Department of Medical Services, 44(1), 127-130. (in Thai)

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics – A Foundations for Analysis in the Health Science. 6th ed. John Wiley & Sons, Inc., 180.

Woradet, S., Chaimay, B., Ponjorn, O., & Putmanee, J. (2021). Depression among Elderly People: Prevalence and Associated Factors. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 309-317. (in Thai)

Woradet, S., Chaimay, B., Songmoung, N., & Sukrat, W. (2020). Prevalence and Factors Associated with Risk of Osteoarthritis among Elderly People in Pa Phayom District of Phatthalung Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(1), 227-239. (in Thai)

Wutikorn, K. (2016). Competency Development Pattern for Elderly Caregivers. Major Organization Development and Human Capability Management Ph.D Organization Development and Human Capability Management, Burapha University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29