การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • พนิตนันทร์ หมื่นตั้ง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เนตรชนก ศรีทุมมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, กิจกรรมการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, หอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อรายกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจ  ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ประชากรเป้าหมาย คือ รายงานต้นทุนของบุคลากรทางการพยาบาลทั้งหมด 22 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานต้นทุนการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 30 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด คือ 1) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหาย มีกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม 2) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล 3) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนตัวผลักดันกิจกรรม ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือทุกชุด เท่ากับ 0.94 ความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

     1. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลรวมเท่ากับ 286,22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การพยาบาลระหว่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ เท่ากับ 171,294.91บาท (ร้อยละ 59.75) รองลงมาคือ กิจกรรมแรกรับใหม่/รับย้าย เท่ากับ 43,704.14 บาท (ร้อยละ15.25)

     2. ต้นทุนต่อกิจกรรมพบว่า พยาบาลระหว่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจสูงสุดเท่ากับ 4,530.06 บาทต่อกิจกรรม

     3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อรายในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีต้นทุนที่สูงที่สุด เท่ากับ 5,709.80 บาทต่อราย

      ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องนำไปเพื่อบริหารต้นทุน บริหารเวลา กำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ในสถานการณ์ที่โรคอุบัติการณ์ใหม่ในโอกาสต่อไป 

References

Barasa, E., Kairu, A., Ng'ang'a, W, Maritim, M., Were, V., Akech, S., & Mwangangi, M. (2021). Examining unit costs for COVID-19 case management in Kenya. BMJ global health, 6(4), e004159. https://doi.org/10.1136/bmjgh-2020-004159

Brimson, J. A. (1991). Activity accounting: an activity-based costing approach. New York: John Wiley & Sons.

Chan-ngam, S., Singchungchai, P., Aree, P. (2021). Cost Analysis of Nursing Activities for Newborns with Hypothermia in the Postpartum Unit at a Tertiary Level Hospital The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(3), 64-75.

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials. Saudi Journal of Anesthesia, 10(3), 328-331. doi: 10.4103/1658-354X.174918

Hammad, W. A. B., Beloushi, M. A., Ahmed, B., & Konje, J. C. (2021). Severe acute respiratory syndrome (SARS) coronavirus-2 infection (COVID-19). European journal of obstetrics, gynecology, and reproductive biology, 263, 106–116. doi.org/10.1016/j.ejogrb.2021.06.001

Kaplan, R. S., & Cooper, R. (1998). Cost and effect: using integrated cost systems to drive profit ability and performance. Massachusetts: Harvard Business.

Keereeruk, K., Singchungchai, P., & Aree, P. (2002). Nursing Activity Costing Analysis of Cesarean Section Management in a Private Hospital. Nursing Journal, 47(2), 345-355. (in Thai)

Ngupimai, C., Singchungchai, P., & Pathumarak, N. (2021). Cost analysis of nursing service management activities for pediatric patients with respiratory disease at outpatient department in a private hospital. Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 32(2), 161-173.

Nursing Division, Ministry of Public Health. (2008). Nursing standard in hospital (2nd Edition). In Nursing Division Ministry of Public Health, Outpatient Nursing Service Standards. p.97-122. (in Thai).

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles method 6th Edition. Philadelphia: JB Lippincott.

Quesado, P., & Silva, R. (2021). Activity-Based Costing (ABC) and Its Implication for Open Innovation. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity. J. Open Innov. Technol. Mark. Complex, 7(41), 1-20.

Singchugchai, P. (2016). Health economics for health services (5th Edition). Songkhla: Chanmuang. (in Thai.)

Wannachad, J. (2011). Neonatal body temperature control. Journal of Phrapokklao Nursing College, 23(1), 81-93. (in Thai)

Wirotwanit, N., Thongkamrod, R., & Hingkanont, P. (2014). Cost Analysis of Nursing Service Activities in Emergency Department Naresuan University Hospital. Journal of Nursing and Health Science, 8(3), 252-267.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-03