การพัฒนาแอปพลิเคชัน PNU SALT TALKING สำหรับผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • พัชราวดี ทองเนื่อง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ฟุรซาน บิซา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • อัณญ์ยภัคสร ใจสมคม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • นูรดีนี ดือเระ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • สุภาวดี อดิศัยศักดา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • กฤตธนา อดิศัยศักดา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, การลดการบริโภคโซเดียม, ผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชัน PNU SALT TALKING สำหรับผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูง โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการออกแบบสื่อตามกรอบโมเดลแอดดี (ADDIE Model) ซึ่งเป็นกระบวนการในการพัฒนาเนื้อหาการเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ เป็นการค้นหา อธิบาย กำหนดจุดมุ่งหมาย หรือเนื้อหาของสื่อ 2) การออกแบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของสื่อ 3) การพัฒนาสื่อ ตามที่ออกแบบไว้ 4) การนำไปใช้ และ 5) การประเมินผล จากนั้นตรวจสอบคุณภาพของแอปพลิเคชันฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และผู้ทดลองใช้งานที่เป็นประชากรผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ท่าน ด้วยแบบประเมินคุณภาพแอปพลิ    เคชันทางสุขภาพของไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

1. แอปพลิเคชัน PNU SALT TALKING สำหรับผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงที่สร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคเกลือโซเดียมในผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย 5 หน้าต่างหลัก 13 หน้าต่างย่อย ได้แก่ หน้าต่างการเข้าสู่แอปพลิเคชัน หน้าต่างแรก หน้าต่างบันทึกการบริโภคเกลือโซเดียมในแต่ละวัน หน้าต่างบันทึกสุขภาพ และหน้าต่างข้อมูลส่วนบุคคล

2. แอปพลิเคชันผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และผู้ทดลองใช้งานที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 10 ท่าน ซึ่งผลการประเมินจากทั้งสองกลุ่มพบว่าภาพรวมของแอปพลิเคชันฯ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี

ดังนั้น แอปพลิเคชัน PNU SALT TALKING มีคุณภาพในระดับดีที่จะนำไปใช้เพื่อการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเกลือโซเดียมด้วยตนเองในผู้ใหญ่โรคความดันโลหิตสูงและประชาชนทั่วไป

References

Ali, S. H., Luo, R., Li, Y., Liu, X., Tang, C., Zhang, P. (2019). Application of Mobile Health Technologies Aimed at Salt Reduction: Systematic Review. JMIR mHealth and uHealth, 7(4), e13250.

Aydin, A., & Gursoy, A. (2022). Mobile app for Breast Cancer Patients: Development Process Using the ADDIE models (Step 1). Research Square. Retrieved July 27, 2022 from https://assets.researchsquare.com/files/rs-1406933/v1/9362a1e3-4471-449f-af44-cd526643166f.pdf?c=1646239548.

Hongsanun, W., & Insuk, S. (2019). Development of the Thai Mobile Health Apps Rating Scale (THARS). Thai Journal of Pharmacy Practice, 11(1), 181-193. (in Thai).

Kaeodumkoeng, K. (2018). Health Literacy: Access Understand and Application. (2nd eds.). Nonthaburi: Amarin Book Center Company Limited. (in Thai).

Khunpol, S. (2022). The Design and Development of Media for Educating on Depression in the Elderly Ages at Pa Phayom District, Phatthalung Province. Journal of Mass Communication Technology, RMUTP, 7(1), 21-32. (in Thai).

Lerdmongkhonterakool, C., Bunyaphatkun, P. & Chitsomkasem, A. (2021). The Effects of Low Sodium,

DASH Dietary Pattern Education and Applying Theory of Planned Behavior on Blood Pressure Reduction in Hypertension Patients. Vajira Nursing Journal, 23(1), 31-45. (in Thai).

Maneetup, K. & Daenseekaew, S. (2017). Situation of Salt Intake among People with Hypertension in Thangkhuang Subdistrict, Waengnoi District, Khonkaen Province. Journal of Nursing and Health Care, 35(4: October - December), 140-149. (in Thai).

Nichols Hess, A. K. & Greer, K. (2016). Designing for Engagement: Using the ADDIE Model to Integrate High-Impact Practices Into an Online Information Literacy Course. Communications in Information Literacy, 10(2), 264-282.

Saedkong, P., Potchana, R., Wayo, W. & Klungklang, R. (2020). Effects of Using Hug Tai Application on Health Literacy among Patients with Diabetes Type 2, Hypertension, and Chronic Kidney Disease Stage 3 at Wat Nong Weang Pra-Aramluarg Parimary Care Unit in Khon Kaen. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 7(3), 195-206. (in Thai).

Samranbua, A. & Thamcharoentrakul, B. (2021). The Effects of Relieving Hypertension Diet Application on Health Belief among Patients with Hypertension. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 32(1), 228-242. (in Thai).

Thai Hypertension Society. (2019). 2019 Thai Guidelines on the Treatment of Hypertension. Bangkok: Huanam Printing. (in Thai).

Thai Ministry of Public Health. (2019). Guidelines for the Operation of Low Sodium Diet in Hospital. Retrieved November 10, 2021 from http://www.thaincd.com/document/ file/download/paper-manual/Bookโรงพยาบาลเค็มน้อยอร่อย(3)ดี.pdf. (in Thai).

Thai Ministry of Public Health. (2021). Number of Hypertensive Patients in Narathiwat Province 2021. Retrieved July 20, 2022 from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi. php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2022&source=pformated/format1.php&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9. (in Thai).

Thajang, S., Panyathorn, K., Loonprom, N., Kensila, U., Khomhanpol, P., Jeenklun, K., et al. (2020). Effects of Using Media Application on Prevention of Complications for Knowledge on Patients with Hypertension. Udon Thani Rajabhat University Journal of Sciences and Technology, 8(2), 89-104. (in Thai).

Tongnuang, P., Hajichearong, R., Wayu, W., Bing, A., Hajisaaree, A., Kabae, A., et al. (2019). Preventive Behaviors for Hypertension among Adults in Narathiwat Province. Princess of Naradhiwas University Journal, 11(2), 49-61. (in Thai).

Wattanayon, S. (2014). Six Local Foods Local Eating to Asean. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(1), 34 – 44. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-10