รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ประสบสาธารณภัยในชุมชน จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • เจตน์วิชยุตม์ บริรักษ์ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุทธีพร มูลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วันเพ็ญ แก้วปาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

จิตอาสา, การช่วยเหลือเบื้องต้น, สาธารณภัย, จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการเกิดสาธารณภัยและการพัฒนาจิตอาสา พัฒนารูปแบบจิตอาสาและประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัยในชุมชน ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการเกิดสาธารณภัยและการพัฒนาจิตอาสาในการช่วยเหลือเบื้องต้นจากแกนนำชุมชนใน อ.เมือง จ. ยะลา จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาจิตอาสา กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมพัฒนารูปแบบ จำนวน 18 คน และระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผล ของการรูปแบบจากจิตอาสา จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 2) แนวทางการระดมสมอง 3) แบบสอบถามความรู้และแรงจูงใจในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัย มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .98 และ .90 และมีค่าความเที่ยงของคูเดอร์-ริชาดสันของความรู้ เท่ากับ .81 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแรงจูงใจ เท่ากับ .99  และ 4) แบบประเมินทักษะการช่วยเหลือเบื้องต้น มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .96 และค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน เท่ากับ .97-.98 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบทีคู่ ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุมชนรับรู้ความรุนแรงของการเกิดสถานการณ์การเกิดสาธารณภัยและป้องกันตามศักยภาพ และคิดว่าควรมีการพัฒนาจิตอาสาเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัย

2. รูปแบบการพัฒนาจิตอาสาเพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัย ในชุมชน ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการป้องกันสาธารณภัย การปลูกจิตสำนึกการเป็นจิตอาสา การคัดเลือกจิตอาสาตามคุณสมบัติ การอบรมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกซ้อมแผนสาธารณภัย

3. หลังการทดลองใช้รูปแบบ ความรู้ แรงจูงใจ และทักษะในการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ประสบสาธารณภัยในชุมชนของจิตอาสาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

จิตอาสามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสังคมภายใต้สถานการณ์สาธารณภัยการพัฒนาจิตอาสาให้มีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสถานการณ์สาธารณภัย  ให้ได้รับการดูแลก่อนชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเข้าไปถึงจะช่วยลดความรุนแรงความพิการ และการเสียชีวิตจากสาธารณภัย

References

Binsalaehman, N., Songwathana, P. & Sornsrivichai, V. (2018). The Emergency Medical Services of Local Administrative Sectors in the Southern Borders, and Related Factors. Princes of Narathiwas University Journal, 10(1), 40-50. (in Thai)

Bloom, B. M. (1968). Learning for Mastery. Center for the Study of Evaluation of Instructional Programs, 1, 1-12. Retrieved January 01, 2023 from https://www.scirp.org/(S(lz5mqp453 edsnp55rrgjct55))/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1857113

Boonyaratkalin, P., Chompoonud, S. & Khumpheephant, S. (2022). The Synthesized Factors Related to Flood Preparedness Literacy and Behaviors among Older adult in Community. Thai Journal of Nursing Council, 71(2), 38-47. (in Thai)

Kanfong, K., Moolsart, S. & Bunruangses, M. (2017). Effectiveness of a Knowledge and Skill Improvement Program of Basic Response to Stroke Patients for Emergency Medical Responders. Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Lueangvilai, W., Kanchanakunjara, S. & Wongpinpech, P. (2021). Volunteer Spirit Development in the Context of Thailand. Panyapiwat Journal, 13(1), 336-350. (in Thai)

National Institute of Emergency Medicine. (2019). National Emergency Medical Principles Plan No. 3.1 B.E. 2019-2021. Retrieved December 19, 2021 from https://www.niems.go.th/1/upload /migrate/file/256112221455115037_GWJdMn5ejp3gVAdc.pdf

Sirika, W., Pimchaynoi, S. & Namwichit, T. (2016). Development of Community Emergency Volunteer in Household by Participation of Stakeholders in Thapra Subdistrict Mueang Khon Kaen District Khon Kaen Province. Tha Phra Subdistrict Administrative Organization, Khon Kaen District, Khon Kaen Province. (in Thai)

Songwathana, P., Kwanphichit, C., Sea-sia, W., Kitrungrote, L., Damkliang, J., Sandchan, H., et al. (2020). Healthcare Service Providers, Perspective on Provision of Emergency Medical Services in Security Zones, A Qualitative Study. Thai Journal of Nursing Council, 35(3), 17-35. (in Thai)

Songwathana, P., Kwanphichit, C., Sea-sia, W. & Kongkamol, C. (2016). Development of an Urban Network's Potential for Helping Groups of Flood-Susceptible Inhabitants: A Case Study of Had Yai. Nursing Council Journal, 31(1), 56-69. (in Thai)

Supakitjareun, J., Wattana, C., Raetong, P. & Khakhong, S. (2017). Learning Experiences, Factors, and Motivations of Students Volunteers for Helping Flood Victims at Temporary Shelter, Thammasat University (Rangsit Campus). Thai Science and Technology Journal, 25(2), 302-315. (in Thai)

Tungkula, H. & Chengka, A. (2020). Creative Volunteer Creation Model for Good Citizenship in Thai Society. Journal of Peace Periscope, 1(1), 52-67. (in Thai)

Vongvichai, C. (2017). Characteristics Affecting Public Health Volunteers in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 5(1), 123-151. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-15