การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง เพื่อบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม สำหรับบุคลากรอาจารย์และนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วีรภัทร พิลึก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะคร้อ
  • คณาพงษ์ เกิดแสง โรงพยาบาลไพศาลี
  • ชฎารัตน์ เหลืองอร่าม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้น, ออฟฟิศซินโดรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง ใช้บรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม สำหรับบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัญหาการใช้ยาหม่องรูปแบบเดิม จากบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาในวิทยาลัยจำนวน 14 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองจากบุคลากร อาจารย์และนักศึกษา จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องมือ ข้อคำถามการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกผลการสกัดสมุนไพร แบบประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ แบบประเมินระดับอาการปวด แบบประเมินความพึงพอใจ ได้ค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired simple t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. สถานการณ์และปัญหาการใช้ยาหม่องรูปแบบเดิม พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์แก้ปวดประเภทยาหม่องมากที่สุดเนื่องจากมีการใช้ที่ง่ายและพกพาสะดวก แต่เวลาใช้งานต้องใช้นิ้วป้ายตัวยาในยาหม่องมีรสร้อนติดที่มือค่อนข้างนาน เมื่อมือสัมผัสใบหน้า ดวงตา ทำให้เกิดอาการแสบร้อน ชา เลยต้องการยาหม่องที่มีคุณสมบัติในการรักษา ให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ง่าย พกพาสะดวก จึงนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่ง

2. ค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดหลังการใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับ (M=5.23, SD=1.04) ดีกว่าค่าเฉลี่ยระดับอาการปวดก่อนการใช้ผลิตภัณฑ์เท่ากับ (M=3.93, SD=0.94) อย่างมีนัยสำคัญในระดับ 0.05

3. ระดับความพึงพอใจของบุคลากร อาจารย์และนักศึกษาต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ยาหม่องตำรับยาทาพระเส้นรูปแบบแท่งอยู่ในระดับมาก (M=4.27, SD=0.34) ซึ่งในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย อยู่ในระดับมาก (M=4.37, SD=0.34) และด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบที่สามารถพกพาได้ง่าย อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.57, SD=0.34)

การพัฒนาตำรับยาทาพระเส้นสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จากออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตำรับยาทาพระเส้น เพื่อบรรเทาอาการปวดและเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคในการดูแลสุขภาพให้เกิดประโยชน์ต่อไป

References

Announcement of the National Drug System Development Board on National List of Essential Drugs B.E. (2013). Announced on August 7. Retrieved July 15, 2019 from http://www.stopcorruption.moph.go.th/ application/editors/userfiles/files/ announcement of the National Drug System Development Board on National List of Essential Drugs B.E. (in Thai)

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in Education. (3rd ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Boonyanok, K. (2016). Development of a Formulation of a Pain-Relieving Balm Formulations in the form of D-Face. Retrieved July 15, 2019 from https://www.rsu.ac.th/orientalmed/Doc /20170627011607/ Publication10. (in Thai)

Chuakul, W. (2010). Traditional Herbs for Pain Relief. Retrieved July 15, 2019, from http://ejournals.swu.ac.th/index.php/pharm/article/view/2607 (in Thai)

Chunthawanich, S. (2010). Qualitative Research Methodology (17th ed). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Dangdet, P. (2016). Factors Affecting the Purchase Decision of Pain Relief Products Made from Herbs for Consumers in the Area Bangkok. Retrieved July 15, 2019 from http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2143/1/preyanuch_dang.pdf (in Thai)

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B. & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed). New Jersey: Pearson Education.

Krippendorff, K. (2013). Content Analysis: An Introduction to Its Methodology. 3rd Edition. LA: SAGE Publication.

Kulbutr, K. & Hongratanaworakit, T. (2015). Effects on Muscle Pain Relief and Satisfaction of the Blended Essential Oil Formula (MUSCLE PAIN RELIEF EFFECT AND SATISFACTION OF BLENDED ESSENTIAL OIL PREPARATION). Retrieved 15 July 2019, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/54438 (in Thai)

Miller, W. L. & Crabtree, B. F., (1992). Primary Care Research: A Multimethod Typology and Qualitative Road Map. In B. F. Crabtree & W. L., Miller (Eds.), Doing Qualitative Research, (pp. 3-28). Newbury Park: SAGE.

Neelapong, W., Phonyothin, B. & Sitthikit, W. (2018). Extraction of Essences from Herbs. Steam Extraction and Solvent Extraction. King Mongkut's Journal North, 28(4), 901-910. (in Thai)

Nimitanan, N. (2014). The Epidemiological Situation and Risk Assessment of Knee Osteoarthritis among Thai People. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3). (in Thai)

Siriraj Hospital Piyamaharajkarun. (2019). Office syndrome. Retrieved July 15, 2019 from http://www.siphhospital.com/th/news/article/share/696/ Officesyndrome. (in Thai)

Siriwanarangsan, P. (2015). Office Syndrome (Office Syndrome). Symptoms and Treatment. Retrieved January 19, 2019, retrieved from http://oxyupstation.com/ (in Thai)

Srisathidnarakoon, B. (2010). The Methodology in Nursing Research 5th Edition. Bangkok: U & I Intemedia. (in Thai)

Thanasilangkul, S. (2012). The Effect of Food Visualization on Salivation and Dryness in Cancer Patients. Head and Neck During Radiotherapy. Master of Nursing Thesis Adult Nursing Graduate School Khon Kaen University. Journal of Cancer, 33(3). (in Thai)

Winitchai, S. (2015). Balm Products Containing Herbal Ingredients in the Medicinal Formula of Amulets. Narai. Retrieved July 15, 2019, from https://www.bedo.or.th/bedo/ pdf/BedoProduct /001.pdf (in Thai)

Winitchai, S. (2016). The Product of the Narai Pill Formulation. Retrieved 19 January 2019, from https://www.thailandtechshow.com/upload_technology/attachment/300.pdf (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-22