การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC : โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ซัมซูดีน เจะเฮาะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การป้องกันโรคฟันผุ, เด็กวัยเรียน, กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และประเมินผลการใช้รูปแบบการป้องกันโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC ในโรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะเตรียมการ เป็นการศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุของโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 47 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ระยะที่ 2 ระยะดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม (AIC) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงประกอบด้วยตัวแทนผู้ปกครอง ครู เจ้าหน้าที่ทันตาภิบาล พยาบาลผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่เทศบาล รวมจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แนวทางการสนทนากลุ่มและแบบสังเกต และระยะที่ 3 ระยะประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา อ.เมือง จ.ยะลา จำนวน 45 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครอง และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจหาความตรงด้านเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและใช้สถิติ Paired sample t-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนที่ได้เป็นการอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในทุกขั้นตอนเพื่อให้การดำเนินงานด้านการป้องกันโรคฟันผุมีความต่อเนื่อง โดยแบ่งผู้รับผิดชอบและกิจกรรมออกเป็น 4 ระดับคือ 1) ระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ 2) ระดับโรงเรียน 3) ระดับชุมชน และ 4) ระดับครอบครัว

2. ผู้ปกครองมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ดังนั้น จึงควรมีการนำรูปแบบการป้องกันโรคฟันผุในเด็กวัยเรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมแบบ AIC นี้ ไปประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆ เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนนั้นๆ

References

Bhuarbon, P., & Laohasiriwong, W. (2011). Family and Community Participation in Oral Health Promotion System Development of Children in Nongphu Child Care Center, Khaowong District, Kalasin Province. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 19(1), 11-26. (in Thai)

Bloom, B.S. (1964). Taxonomy of Education Objective: The Classification of Educational Goals: Handbook II: Affective Domain. David Mckay.

Chanbang, P. (2013). How to Make Thai Children Have Good Teeth. Nontaburi: Printing Business War Veterans Organization.

Dental Public Health, Department of Health, Ministry of Health. (2018). Report of the Results of the 8th National Oral Health Survey, Thailand, 2017. Retrieved November 13, 2019 from http://www.dent.chula.ac.th/upload/news/791/file_1_5834.pdf

Dental Public Health, Department of Health, Ministry of Health. (2018). Thai Children with Dental Caries Big Problems Affecting the Future. Retrieved November 13, 2019 from http://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria, Australia: Deakin University Press.

Kesornrat, C., Turnbull, N., Watthanasaen, S., (2014). The Development of Oral Health Promotion Modelin Wat Ban Chaneng Child Development Center, Chaneng Subdistrct, Maung District, Surin Province. Thai Dental Nurse Journal, 25(2), 1-15. (in Thai)

Thitwatananon, C. (2009). Development of Community Participation in Planning Health Promotion Activities by Using the AIC Process: a Case Study of Communities in Nong Phai Lom Sub-district, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)

Triratworakul, C. (2010). Dental prevention in Childhood and Adolescence. 3th ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Yosit, U. (2015). Behaviors and Factors Associated with Oral Health Care by Parents of Preschool Children in Child Care Centers, Municipal tha Pha District, Lampang Province. An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Degree of Master of Public Health Major in Health Promotion Management Faculty of Public Health, Thammasat University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17