ผลของการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • เสาวพฤกษ์ ช่วยยก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กมลชนก ทองเอียด มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ฐิตารีย์ พันธุ์วิชาติกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองมีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 108 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติด้วยการบรรยาย จำนวน 54 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง จำนวน 54 คน โดยใช้วิธีการหยิบฉลากเข้ากลุ่ม เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ สถานการณ์จำลองเสมือนจริงผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .716  และแบบประเมินการปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลใช้การทดสอบด้วยวิธีแอลฟ่า และเบต้า  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง หลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-2.157)

2. นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง มีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติด้วยการบรรยาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=2.98)

3. ทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลัน ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทักษะการประเมินการหายใจ/การวัดความอิ่มตัวของออกซิเจน (M=2.75, SD=0.62) ปฏิบัติได้ถูกต้องครบถ้วน ทักษะที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ทักษะการตรวจท้อง (M=0.58, SD=0.66) มีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง

4. นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนดวยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง มีคะแนนการปฏิบัติทักษะทางการพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 67.21 ต่ำกว่าเกณฑ์เปรียบเทียบ (≥ ร้อยละ 70)

การสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง สามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลได้ และสามารถนำมาประเมินทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อใช้ในการจัดการสอนรายวิชาทางการพยาบาล  และเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาพยาบาล ก่อนการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยจริง

References

Bookerd, M., Mang-Ana, R., & Khrabiad, S. (2015). Effects of Using Simulation Based Learning on Self-Confidence and Skills in Taking Nursing Care of Patients with Crisis Condition. Paper Presented at the Diversity in Health and Well-Being, Wangchan Riverview Hotel, Phitsanulok.

Dorothy, I. M. (2010). Nursing Student Perceptions of Learning Outcome Throughout Simulation Experiences Undergraduate Research. Journal for Human Sciences. Volume 9 Retrieved January 10, 2019 from www.Kon.org/urc/v9/hunter.html

Emma, S., & Emma, A. (2015). Promoting the Management of Acute Upper Gastrointestinal Bleeds among Junior Doctor: A Quality Improvement Project. BMJ Quality Improvement Report. Retrieved July 12, 2019 from http://bmjopenquality.bmj.com/

Hyung-Ran, P., Jee-Won, P., Chun-Ja, K., & Ju-Eun, S. (2016). Development and Validation Teaching Strategies in an Integrated Nursing Practicum. Collegian, 24, 479-486

Ingrid, T., Bodil, B. V., & Eldar, S. (2017). Implementing Simulation in Nursing Education Program: A Case Report from Tanzania. Advances in Simulation, 2(17), DOI 10.1186/s41077-017-0048-z

Jamjang, S., Yomdit, V., Pongphetdit, B., Pitaksin, D., Changsieng, P., & Montong, A., (2017). Effects of Using Simulation-Based Learning for Preparation of Nursing Practicum on Perceptions of Self-Efficacy in Performing Nursing Care in a Hospital Nursing. Journal of the Ministry of Public Health, 46-58.

Jeffries, P. (2005). A Framork for Designing, Implementing, and Evaluating Simulations Used as Teaching Strategies in Nursing. Nursing Education Perspectives, 26(2), 96-103

Kaewphonpek, P. (2019). Nursing Care of Upper Gastrointestinal Bleeding Patients with Balloon Tamponade (Sengstaken-Blakemore Tube): Case study 2 cases. Mahasarakam Hospital Journal, 16(3), 83-95.

Karen, L. M., & Peggy, W. S. (2014). Developing Critical Thinking Skills in UUndergraduate Nursing Students: The Potential for Strategic Management Simulation. Journal of Nursing Education and Practice, 4(9), 155-162.

Kim, J. Y., & Kim, E. J. (2015). Effects of Simulation on Nursing Students’ Knowledge, Clinical Reasoning, and Self-Confidence: A Quasi-Experimental Study. Korean Journal of Adult Nursing, 27(5), 604-611.

Kumbudda, A. (2018). Nursing Care of Acute Upper Gastrointestinal Bleeding with Hypovolemic Shock Case Study 2 Case. Mahasarakam Hospital Journal, 15(3), 187-197.

Kunaviktikul, W., (2015). Teaching and Learning in the Discipline of Nursing in the 21st Century. Nursing Journal, 42(2), 152-156.

Kusoom, W., & Tongvichean. S. (2017). Developing Critical Thinking Skills for Nursing Students. The Journal of Faculty of Nursing Burapha Universit, 25(3), 1-8.

Laila, M. A., Muntaha, K. G., & Ziad, M. A. (2013). Effectiveness of Simulation on Knowledge Acquisition, Knowledge Retention, and Self-Efficacy of Nursing Students in Jordan. Clinical Simulation in Nursing, 9(9), 335-342.

Leila, J. (2012). The Challenges of Clinical Teaching in Nursing Skill and Lifelong Learning from the Standpoint of Nursing Students and Educators. Procedia-Social and Behavioral Science, 46, 3335-3338.

Myeong, J. K., Ga-Yeon, K., Sun-Jung, P., Eun-Young, C., & Bock-Soon, P. (2017). Effects of Integrated Simulation Program on Critical Thinking Disposition, Problem-Solving Process and Job Performance of Nursing College Students. J Biomed Imag Bioeng, 1(2), 47-52.

Panit, V., (2012). Learning in the 21st Century. Bankok: Foundation Sodsri-Saritwong.

Phormpayak, D., Sattayawong, W., Rattana-Umpa, J., PawadeeHamtanon, & Rungkavat, V. (2019). The Effects of Using Simulation Based Learning and Reflective Thinking Skill Promoting on Nursing Students’ Reflective Thinking Behaviorand Clinical Decision-Making Abilities. Journal of Health and Nursing Education, 25(2), 57-71.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice 8th ed. New York: Lippincott William & Wikins.

Sirisupluxana, P. (2013). Teaching Nursing Students to Develop Critical Thinking Skills. Journal of Health and Nursing Education, 19(2), 5-19.

Thanaroj, S. (2017). Simulation-Based Learning in Principles and Techniques Course in Nursing Practicum. Boromarajonani College of Nursing Uttaradit Journal, 9(2), 70-84.

Thor, A. H., Inger, A. R., Hanne, H., & Ida, T. B. (2018). The Impact of a New Pedagogical Intervention on Nursing Students, Knowledge Acquisition in Simulation-Based Learning: A Quasi-Experimental Study. Nursing Research and Practice. Retrieved July 12, 2019 from https://doi.org/10.1155/2018/7437386

Yepaloa, M., Rengrongkulrid, P., Thongjun, J., Suvan, K., & Jareonsuk, K. (2017). Effects of Simulation Based Learning to Enhance Critical Thinking of Nursing Students, Boromarajonani College of Nursing Yala. Nursing Public Health and Education Journal, 18(3), 128-134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20