การวิเคราะห์ระบบยาในโรงพยาบาลเพื่อรองรับระบบเภสัชกรรมทางไกล

ผู้แต่ง

  • ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค, หน่วยวิจัยเภสัชกรรมปฏิบัติและการจัดการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ณัฏฐณิชา สวยสม ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค, หน่วยวิจัยเภสัชกรรมปฏิบัติและการจัดการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ณิชากร เชี่ยวชาญธนกิจ ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค, หน่วยวิจัยเภสัชกรรมปฏิบัติและการจัดการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เจนสุดา ศุภรพันธ์ ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค, หน่วยวิจัยเภสัชกรรมปฏิบัติและการจัดการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ตวงรัตน์ โพธะ ศูนย์สารสนเทศทางยาและคุ้มครองผู้บริโภค, หน่วยวิจัยเภสัชกรรมปฏิบัติและการจัดการ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เภสัชกรรมทางไกล, ระบบยา, ระบบยาในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ เพื่อวิเคราะห์ระบบยาในโรงพยาบาลสำหรับการรองรับระบบเภสัชกรรมทางไกลในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารสถานการณ์ ระบบยา กฎหมาย และแนวปฏิบัติในการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลของต่างประเทศและประเทศไทย และขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ระบบยาในโรงพยาบาลของประเทศไทย เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายเภสัชกรรมทางไกล 13 ท่าน จาก 11 หน่วยงาน วิเคราะห์โดยถอดบทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำ และนำมาวิเคราะห์เนื้อหา

ผู้วิจัยได้สังเคราะห์รูปแบบการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลจากทบทวนเอกสารในขั้นตอนที่ 1 และนำมาเป็นประเด็นคำถามสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลในขั้นตอนที่ 2 เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าระบบเภสัชกรรมทางไกลสามารถช่วยสนับสนุนขั้นตอนในระบบยาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่อผู้ป่วยโดยตรง ได้แก่ ขั้นตอนการจ่ายยาและการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นหากนำระบบเภสัชกรรมทางไกลมาใช้ในประเทศไทย คือ ระบบการยืนยันตัวตน การให้ข้อมูลด้านยาแก่ผู้รับบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการจัดส่งยา

ข้อเสนอเชิงนโยบาย 1) การกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติสำหรับการให้บริการเภสัชกรรมทางไกลควรเป็นบทบาทหน้าที่ของสภาเภสัชกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) มาตรฐานและแนวปฏิบัติควรสอดรับกับการให้บริการทางไกลกับวิชาชีพอื่นด้วย (3) กระทรวงสาธารณสุขควรมีการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของผู้รับบริการร่วมด้วย โดยสภาเภสัชกรรมควรออกข้อกำหนดระบบยาในโรงพยาบาลที่จะรองรับบริการเภสัชกรรมทางไกลให้ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยี ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ และด้านการประกันคุณภาพ

References

Ameri, A., Salmanizadeh, F., & Bahaadinbeigy, K. (2020). Tele-Pharmacy: A New Opportunity for Consultation During the COVID-19 Pandemic. Health Policy Technol, 9(3), 281-282.

Booranarek, S., Thummaraksa, P., Kaewchuntra, K., & Khamwong M. (2017). Health Status and Health Service Accessibility: Samsen Community. Journal of Boromarajonani College of Nursing, 33(2), 54-63. (in Thai)

Chumchit, C., & Amrumpai, Y. (2009). Medication Management System for Medication Safety in Hospital: An Analysis on Problems and Opportunity for Improvement. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 4(1), 127-135. (in Thai)

Garrelts, C. J., Gagnon, M., Eisenberg, C., Moerer, J., & Carrithers, J. (2010). Impact of Telepharmacy in a Multihospital Health System. American Journal of Health-System Pharmacy: AJHP: Official Journal of the American Society of Health-System Pharmacists, 67(17), 1456-62.

Khongmalai, O., & Jaiwong, W. (2017). Adoption of Telemedicine in Public Health in Rural Areas Case Study: Somdej Phra Yupparat Chiang Khong Hospital. KMUTT Research and Development Journal, 40(4), 641-650. (in Thai)

Kulrattanamaneeporn, S., Wongboonsin, K., & Kost, G. J. (2010). Telemedicine: The Innovation in Health Care. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences, 2(1), 42-51. (in Thai)

Lam A. Y., & Rose D. (2009). Telepharmacy Services in an Urban Community Health Clinic System. Journal of the American Pharmacists Association, 49(5), 652-659.

National Health Security Office. (2020). Management of the Universal Health Coverage Fund for the Fiscal Year 2021. National Health Security Office. Nonthaburi. 15-16. (in Thai)

Tiamkao, S. (2020). Medical Preparing for New Wave of COVID-19. Available from https://www.hfocus.org/content/2020/07/1979 [July 25, 2020]. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23