ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ ทับผดุง นิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ขยะมูลฝอยครัวเรือน, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่ทำหน้าที่จัดการขยะมูลฝอยครัวเรือน จำนวน 411 ครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย KR-20 เท่ากับ .72 ส่วนแบบสอบถามทัศนคติที่ดี แรงจูงใจต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอย การได้รับข่าวสาร การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช เท่ากับ .70,  .76,  .72,  .90 และ .72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างในภาพรวมมีพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย อยู่ในระดับสูง         (M=3.89, SD=0.59) และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ตัวแปร ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (ϐ=0.280) ทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย (ϐ=0.246) แรงจูงใจต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอย (ϐ=0.220) ความรู้เกี่ยวกับการลดปริมาณขยะมูลฝอย (ϐ=0.180) จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (ϐ=0.101) และการให้บริการของผู้รับซื้อของเก่า
(ϐ=0.082) โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ได้ร้อยละ 40.00

จากข้อค้นพบดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลควรเพิ่มบทบาทในการสนับสนุนทางสังคม เสริมสร้างแรงจูงใจ และปรับกลยุทธ์การสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนตั้งแต่ระดับครัวเรือน เพื่อให้มีการลดปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่

References

Ali, N. E. H., & Siong, H. C. (2016). Social Factors Influencing Household Solid Waste Minimisation. MATEC Web of Conferences 66.

Babbie, E. (1998). Survey research methods. California: Wadsworth Publishing Company. Best, J. W. (1977). Research in education. New Jersey: Prentice Hall.

Bloom, B. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.

Boonjun, S., & Phetphum, C. (2018). Factors Affecting Behavior in Solid Waste Separation among Housewives in Bung Phra Sub district, Muang District, Phitsanulok province. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 12(1), 180-190. (in Thai)

Buntho, S. (2016). Effectiveness of Community Waste Management Using 5 Rs. Program: A Case Study of Thung Sai Sub-district, Kamphaeng Phet Province. Master of Public Health, Naresuan University. (in Thai).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Dhokhikah, Y., Trihadiningrum, Y. & Sunaryo, S. (2015). Community Participation in Household Solid Waste Reduction in Surabaya, Indonesia. Resources, Conservation and Recycling, 153-162.

Green, L. W., & Kreuter, M. W. (1991). Health Promotion Planning: An Educational and Environmental Apporoach: C.A: Mayfield Publishing.

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The Theory of the Estimation of Test Reliability. The Psychometric Society, 2(3), 151-160.

Nateewattana, J., & Tienthavorn, V. (2017). Knowledge and Attitude to Waste Reduction Behavior of Mae Ka Community, Muang District, Phayao Province. Thai Science and Technology Journal, 25(2), 316-330. (in Thai)

Phitsanulok Provincial Office for Local Administration. (2018). Solid Waste Management of Phitsanulok of Local Government Organization. (in Thai)

Pollution Control Department. (2009). Guidelines of Solid Waste Reduction and Utilization. (in Thai)

Pollution Control Department. (2016). Thailand Solid Waste Management Master Plan (2016 – 2021). (in Thai)

Pollution Control Department. (2018). Thailand State of Poluttion Report 2018. (in Thai)

Pollution Control Department. (2019). Thailand State of Poluttion Report 2019. (in Thai)

Sangyangyai, W., Lormphongs, S. & Kijpredarborisuthi, B. (2017). Factors Affecting Household Waste Reduction Behavior of People in a Municipality, Samutprakarn Province.

The Public Health Journal of Burapha University, 12(1), 76-87. (in Thai)

Supipetch, T. (2013). Solid Waste Reduction Behavior of the Housewives in the Military Flats of the First Anti-Aircraft Artillery Regiment, Laksi, Bangkok. Academic Services Journal, 24(1), 84-94. (in Thai)

Sutthiphapa, N., Yuenyong, J., & Ukham, P. (2016). The Factors That Affecting the Behavior of Reducing by Undergraduate of Science Faculty, Ubon Ratchathani Rajabhat University. Journal of Industrial Technology Ubon Ratchathani Rajabhat University, 6(2), 32-50. (in Thai)

Tungprutyakul, A., Sripuna, S., & Nasa-arn, S. (2016). Effect Of Using The Model Of Whole Cycle Participatory Solid Waste Management Of The Communities in Somdet Municipality, Kalasin Province. Ph.D. in Social Sciences Journal, 6(3), 123-137. (in Thai)

Uchupaj, V. (2018). Knowledge and Behavior of People in Waste Management and Quality of Waste Management Service of Laoyao Sub-District Administrative Organization, Ban Hong District, Lamphun Province. Master of Public Health, Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai).

Vanichbuncha, K., & Vanichbuncha, T. (2017). SPSS for Window. Bangkok: Rongphim Samlada. (in Thai)

Wayne W., D. (1995). Biostatisticss A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed). John Wiley & Sons, Inc.

World Bank. (2018). What a Waste 2.0: A Global Snapshot of Solid Waste Management to 2050.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-05